ปณต จิตต์การุญ
เปิดตัว 'ปณต จิตต์การุญ' เทรดเดอร์หนุ่มวัย 31 ปี คนไทยผู้หาญกล้าตั้ง 'เฮดจ์ฟันด์' ลงทุนทั่วโลก ทิ้งใบปริญญา ค้นหาความฝันที่ยิ่งใหญ่
"ต้าน" ปณต จิตต์การุญ เทรดเดอร์หนุ่มวัย 31 ปี ร่วมกับ ณสุ จันทร์สม อดีตผู้จัดการกองทุนชื่อดัง อยู่ระหว่างจัดตั้ง "เฮดจ์ฟันด์" จดทะเบียนที่ "เกาะเคย์แมน" ซึ่งเป็น "ธุรกิจต้องห้าม" ที่ ก.ล.ต.ไทยยังไม่อนุญาต เนื้อหาชีวิตของเด็กหนุ่มผู้นี้นับว่าน่าสนใจ และพลาดไม่ได้ที่จะติดตาม
เมื่อสองปีก่อนทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ไปพบ Blog ของนักเล่นหุ้นคนหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Mudley Group เนื้อหาในนั้นเต็มไปด้วยวิธีการ "เทรด" สไตล์ “เฮดจ์ฟันด์” ค่อนข้างแปลกใหม่และน่าสนใจ จึงมีการติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อขอพูดคุยด้วย! แต่ปลายสายตอบกลับมาว่า...ผมยังไม่สะดวกที่จะเปิดเผยตัวเองตอนนี้ครับ!!!
วันนี้เขาตอบตกลงที่จะให้สัมภาษณ์สื่อเป็นครั้งแรก ทีมข่าว "บิซวีค" มีนัดหมายกับเทรดเดอร์หนุ่มที่ออฟฟิศย่านถนนสุขุมวิท โดยมี ณสุ จันทร์สม อดีตผู้จัดการกองทุนชื่อดัง ที่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นเจ้าของบริษัทจัดการลงทุน Tranquility Asset Management ที่สิงคโปร์ ร่วมวงสนทนาอยู่ด้วย
“เรากำลังจะจัดตั้งกองทุนในต่างประเทศแต่กำลังหาทางนำมาเสนอให้นักลงทุนไทยด้วย จะเรียกว่าเป็นเฮดจ์ฟันด์หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกกัน” ณสุ เริ่มต้นขึ้น
อดีตผู้จัดการกองทุนคนดัง เล่าว่า ปัจจุบันตนเองนั่งบริหารอยู่ที่สิงคโปร์แต่มีออฟฟิศที่กรุงเทพฯด้วย คอยบริหารกองทุนที่ไปจัดตั้งบน “เกาะเคย์แมน” ลงทุนทั่วโลกรวมถึงหุ้นไทยด้วย ได้มีโอกาสรู้จักกับ ปณต จิตต์การุญ เมื่อสองปีก่อนเพราะได้ดีลงานกัน ชอบวิธีการลงทุนของเขาเลยให้เงินทุนและแนะนำลูกค้ารายใหญ่ให้
จุดเด่นของปณต เขาไม่สนใจว่าจะทำกำไรได้มากหรือน้อย เขาจะสนใจในการป้องกันการขาดทุน เวลา บลจ.ไทยลงทุนถ้าตลาดลง 10% แต่บริหารขาดทุนแค่ 5% ถือว่า "ชนะตลาด" แต่ลูกค้า "ไม่ปลื้ม" แต่ปณตหาวิธีให้เขามีกำไรตลอด...เมื่อเห็นฝีมือ ณสุ จันทร์สม จึงอาสามาเป็น "พี่เลี้ยง" ช่วยปณตจัดตั้งกองทุนของตัวเองพร้อมสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้นหลัก “ร้อยล้านบาท” แต่กองทุนนี้ไม่ผ่านสำนักงาน ก.ล.ต.ของไทย โดยไปจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน แล้วไปจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีกับคัสโตเดี้ยน มาช่วยงานหลังบ้าน
“ผมให้เงินปณตกับคนสิงคโปร์คนหนึ่งมาบริหารพอร์ตให้ผม อีกคนเขาเคยทำงานอยู่กองทุน GIC จะมาดูพอร์ตลงทุนในเอเชียให้ผม ส่วนปณต ผมจะพยายามให้มาขายนักลงทุนไทยให้ได้แม้จะยากในการนำเงินออกไปข้างนอก แต่สักวันจะต้องมีคนรู้จักชื่อกองทุนของเรามากขึ้น อีกหน่อยพวกโบรกเกอร์, กบข., ประกันสังคม อาจเป็นลูกค้าเราก็ได้เพราะผมมั่นใจว่าของเราเจ๋งจริง” ณสุ ถือโอกาสโฆษณากองทุนที่เขาเป็นโต้โผใหญ่
อดีตผู้จัดการกองทุนคนดัง กล่าวว่า กองทุนของเขาที่มีปณตเป็นผู้บริหาร อยู่ระหว่างแก้ไขเนื้อหาในเอกสารบางส่วน น่าจะเสร็จใน 2-3 เดือนนี้ คนไทยที่อยากลงทุน (ซื้อหน่วยลงทุน) อาจต้องไปซื้อในต่างประเทศจะให้ผ่าน ก.ล.ต.ไทยคงยากมีข้อจำกัดเยอะ โดยเจ้าตัวยืนยันว่ามีคนไทยไปจัดตั้งกองทุนลักษณะนี้ที่เกาะเคย์แมนเยอะแยะ คนไทยที่มีเงินอยู่ต่างประเทศก็หาซื้อได้
ณสุ ยืนยันว่าจะเดินหน้าไปคุยกับ ก.ล.ต.และสมาคม บลจ.ให้เข้าใจเพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้ลงทุนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าจะซื้อโดยตรงลูกค้าบุคคลต้องเริ่มตั้งแต่ 5 ล้านบาท ส่วนสถาบันเริ่มที่ 50 ล้านบาท ช่วงซับไพร์มตลาดหุ้นลงทั่วโลก ถ้าเป็น บลจ.ไทยลงทุนก็เละหมด แต่เด็กคนนี้ (ปณต จิตต์การุญ) รักษาพอร์ตให้มีกำไรได้ จากวิธีการเทรดที่เป็นแบบเฉพาะตัวของเขา..ผมอยู่ในวงการนี้เป็นสิบปี บอกได้เลยว่าเด็กคนนี้ไม่ธรรมดา ณสุ ประทับตรายืนยัน
เป็น 'เซียนหมากรุก' ก่อนเป็น 'เซียนหุ้น' คราวนี้มาถึง "ต้าน" ปณต จิตต์การุญ เริ่มแนะนำตัวเองบ้าง! เทรดเดอร์รายนี้มีอายุเพียง 31 ปี ตั้งแต่สมัยเด็กเคยเป็นเซียนหมากรุกดาวรุ่ง เป็นลูกศิษย์ “เซียนป่อง” สุชาติ ชัยวิชิต ปรมาจารย์หมากรุกไทย ชีวิตวัยเด็กพ่อพาตระเวนแข่งขันหมากรุกล่ารางวัลเอาชนะมาทั่วสารทิศ
“ผมชอบคณิตศาสตร์ ชอบการคำนวณ ตอนเด็กๆ เคยไปแข่งคณิตศาสตร์ได้รางวัลมาบ้าง ที่สนใจตลาดหุ้นเพราะใช้การคำนวณแต่มีเรื่องของจิตวิทยามาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ผมรักมัน พอรักแล้วก็ไม่ได้มองว่ามันเป็นงานแต่เป็นสิ่งที่เราชอบ ทำให้มีการพัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ”
เทรดเดอร์หนุ่มอธิบายว่า เกมหมากรุกกับตลาดหุ้น จริงๆ แล้วมีความใกล้เคียงกันมันคือ "เกมผลประโยชน์" เราต้องอ่านให้ออกว่า ทำไม! เขาวางผลประโยชน์มาให้ เช่น เอา "เรือ" มาให้ "กินฟรี" แปลว่ากำลังต้องการอะไรจากเราอยู่ ตลาดหุ้นก็เช่นกันมีรูปแบบของผลประโยชน์ผ่านการใช้ "สื่อ"
ต้าน เล่าว่า เริ่มเข้ามาสัมผัสตลาดหุ้นช่วงปี 2540 ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ตอนนั้นเรียนอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เริ่มชักชวนเพื่อนๆ ให้นำเงินมาฝากแล้วเอาไปลงทุนได้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่ดี ตั้งชื่อกลุ่มว่า Mudley จึงเริ่มต้นชื่อนี้ตั้งแต่ตอนนั้น
“ตอนเรียนปี 4 ผมชนะการแข่งขัน University Stock Competition (USC 2002) ของตลาดหลักทรัพย์ด้วยการแข่งขันเทรดหุ้นภายในระยะเวลาสามเดือน ถือเป็นนักศึกษาวิศวะฯ คนแรกที่ชนะ เพราะที่ผ่านมามีแต่เศรษฐศาสตร์ ไม่ก็บัญชี”
ต่อมามีนักลงทุนชาวสวิตเซอร์แลนด์เห็นแววติดต่อให้ช่วยบริหารเงินให้รวมถึงมีลูกค้าต่างชาติและคนไทยหลายคนให้ช่วยบริหารพอร์ตให้ จนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตขึ้น
"นักลงทุนฝรั่งคนนั้นบอกผมว่า ถ้าจะมาบริหารพอร์ตให้ต้องแสดงความจริงใจด้วยการลาออกจากมหาวิทยาลัย เขาบอกว่าถ้ารักจริง "ต้องกล้า" ผมจึงลาออกตอนนั้นเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 แล้วด้วย ถือว่า "ช็อก" ที่บ้านพอสมควร แต่เป็นโจทย์สำคัญมากในชีวิตที่บ้านก็ไม่ได้มีเงินมากนัก ต่อมาฝรั่งคนนั้นก็ให้ทุนผมไปเรียนวิชาเทรดเดอร์ที่อเมริกา"
เด็กหนุ่มเล่าว่า พอไปถึงอเมริกา เขายังไม่ให้ฝึกเทรด แต่ให้ฝึกเล่นไพ่โป๊กเกอร์ก่อน โดยให้เหตุผลว่าการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องเข้าใจหลายอย่าง การเล่นไพ่โป๊กเกอร์ คือการฝึกบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพโดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์และสถิติมาช่วย เขาให้ฝึกมองคนร่วมโต๊ะด้วยว่ากำลังคิดอะไรอยู่ หลังจากนั้นถึงได้ฝึกเรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคการเทรดแบบต่างๆ เช่น พวกอนุพันธ์ หลายอย่างก็ไม่มีในประเทศไทย
เข้าสู่สนาม 'เฮดจ์ฟันด์' ที่ลอนดอน หลังจากเรียนวิชาเทรดเดอร์ได้สองปี ปณต มีโอกาสเข้าทำงานที่ Altera Partners Management มีฐานอยู่ที่กรุงลอนดอน ต้องประสานงานร่วมกับกองทุนอื่นๆ ทั่วโลกทั้งในอเมริกา ยุโรปและเอเชีย โดยปณตอยู่ประจำที่สำนักงานกรุงเทพฯ โดยใช้ไทยเป็นฐานข้อมูลในเอเชียค่าตัวพนักงานก็ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับในยุโรป และเป็นสถานที่เฟ้นหาเทรดเดอร์ที่เป็น Talent (ดาวรุ่ง) ในเอเชียได้ด้วย
"มีคนถามว่าไม่จบปริญญาตรีทำไม! เข้าทำงานได้ ซึ่งฝรั่งเขามองผลงานมากกว่าปริญญา เวลาที่ผมสมัครก็ใช้ประวัติการเทรดในการคัดเลือก โชคดีมากที่ผมเข้าทำงานที่นี่ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก"
หน้าที่ของปณต ต้องศึกษาโมเดลการเทรดของเฮดจ์ฟันด์อื่นทั้งที่สำเร็จและล้มเหลว และนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการเทรด ทำให้รู้ต้นเหตุความล้มเหลวของเฮดจ์ฟันด์หลายกองคือการใช้ Leverage ที่สูงเกินตัวเป็นหลัก "ร้อยเท่า" พวกนี้จะเน้นแต่ผลตอบแทนเท่านั้น ถ้าตลาดดีก็จะดีตามไปด้วยแต่พอตลาดลงก็อาจจะ "ล้ม" ได้
แต่กองทุนที่อยู่มาได้นาน 30 ปี หัวใจสำคัญของเขาคือป้องกันส่วนของ “ทุน” และนำส่วนที่เป็นกำไรนำมา Leverage ทีหลัง นี่คือสิ่งที่คนไทยยังเข้าใจผิดมากว่าเฮดจ์ฟันด์ต้องเล่นทุ่มสุดตัวทั้งหมด ถ้าเน้นผลตอบแทนสูงๆ จะต้องนำเงินทั้งหมดไปลงถ้าพลาดก็จะเสียเงินที่ลงไปด้วย แต่ถ้านำเฉพาะกำไรมาเล่นถ้าพลาดก็ยังมีทุนเหลือ ถ้าได้กำไรก็มีส่วนของทุนงอกขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้ เฮดจ์ฟันด์หลายกองในสหรัฐ ยังสนับสนุนวงการคณิตศาสตร์และพยายามที่จะสื่อสารทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า "ทุนนิยม" กำลังมีปัญหามี "จุดอ่อน" อะไรอยู่ แต่หลายคนไม่สนใจก็เลยต้องโจมตีช่องว่างดังกล่าว เฮดจ์ฟันด์จึงเป็นพวก "ปฏิบัตินิยม" มากกว่าเน้น "ทฤษฎี"
มีผลงานทำ 'กำไร' ช่วงวิกฤติ 'ซับไพร์ม' กองทุน Altera Partners Management เคยมีสินทรัพย์สูงถึง 500 ล้านเหรียญ ถือว่าเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ก่อนหน้านั้นช่วงที่ทำหน้าที่พัฒนาโมเดลเทรด Altera จะคอยคัดเลือกกองทุนที่มีผลงานดีๆ ทั่วโลกนำมาเสนอให้กับลูกค้า ทำให้ปณตเรียนรู้การทำงานของผู้จัดการกองทุนระดับโลกหลายคนและนำมาประยุกต์จนเป็นแนวทางการเทรดของตัวเอง เพราะการ "ก๊อบปี้" คนอื่นไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับเป็น "ต้นแบบ" เอง
เขาเริ่มมีประสบการณ์เทรดจริงจังในช่วงต้นปี 2551 ขณะที่กำลังเกิดวิกฤติซับไพร์มพอดี แต่ด้วยข้อจำกัดของความเป็นคนเอเชียทำให้ไม่ได้รับโอกาสเท่าที่ควร แม้จะพัฒนาการเทรดมาสองปีเต็ม แต่ได้แบ่งพอร์ตมาเทรดเล็กน้อยเท่านั้น
“ผมลงทุนนำเงินเก็บส่วนตัวมาเทรดให้ดูก่อนแล้ว แต่ความเป็นคนเอเชียทำให้ได้รับโอกาสน้อย ผลงานของผมตอนนั้นทุกคนขาดทุนหมดแต่ผมสามารถมีกำไรได้ เลยน้อยใจเล็กๆ แถมสุขภาพก็ไม่ดีด้วย แต่ก็เข้าใจเขาเพราะว่าตอนนั้นใครๆ ก็เครียดกันหมด เลยตัดสินใจออกมาเทรดเองเลยดีกว่าและได้พี่ณสุมาช่วยตั้งกองทุนให้”
เขาตัดสินใจเผยแพร่แนวคิดนี้ไปยังผู้อื่นผ่านเว็บบอร์ดชื่อดังแห่งหนึ่งและมีแฟนคลับตั้งกลุ่มให้ว่า KZM ซึ่งย่อมาจาก Killer Zone by Mudley Group
"ผมพยายามสร้างชื่อ Mudley มาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยโดยนำเงินของเพื่อนๆ ไปลงทุนให้และเน้นรักษาเงินต้น ทำให้มีชื่อเสียงในกลุ่มคนเล็กๆ เพราะผมไม่อยากจะออกมาพูดอะไรมากนัก ในวงการนี้ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ คนที่มาฝากผมลงทุนให้ก็ไม่เคยทำให้เสียเครดิตโดยการรักษากำไรให้เขามาตลอด"
สิ่งที่ปณตต้องการทำต่อไป คือ การแชร์ความรู้เหล่านี้ในวงกว้างและให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน โดยการไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยถึงแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม เขาเน้นย้ำว่าถ้าหากทำอะไรที่มีผลประโยชน์ซ่อนอยู่คงไม่สามารถสร้างชื่อได้นานขนาดนี้ เช่นการไปเชียร์ให้ซื้อหุ้น แบบนี้ชื่ออาจจะอยู่ได้ไม่นาน
“นักลงทุนที่มาเรียนกับเราสามารถอยู่รอดในตลาดได้หมด ทุกคนผ่านช่วงซับไพร์มมาได้ นี่คือ เครื่องพิสูจน์ สิ่งที่เรากำลังทำต่อไปคือการขยายแนวการลงทุนแบบนี้ อย่างเช่นที่เราจัดการอบรมเทรดเดอร์รุ่นใหม่ให้มีการแข่งขันกัน ทุกอย่างนี้ผมไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย”
เส้นทางชีวิตของ "เทรดเดอร์หนุ่ม" มีบางแง่มุมที่ใครหลายคนหยิบฉวยไปใช้ได้ ตอนหน้าเทรดเดอร์หนุ่มไร้ปริญญาจะมาเล่าต่อถึงแนวทางการลงทุนที่เขาพัฒนามาเป็นสิบปี...แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ "ปณต จิตต์การุญ" ปั่น "กำไร" ตีแตก "วิกฤติซับไพร์ม" ห้ามพลาด!!!
"ต้าน" ปณต จิตต์การุญ เทรดเดอร์หนุ่มวัย 31 ปี ร่วมกับ ณสุ จันทร์สม อดีตผู้จัดการกองทุนชื่อดัง อยู่ระหว่างจัดตั้ง "เฮดจ์ฟันด์" จดทะเบียนที่ "เกาะเคย์แมน" ซึ่งเป็น "ธุรกิจต้องห้าม" ที่ ก.ล.ต.ไทยยังไม่อนุญาต เนื้อหาชีวิตของเด็กหนุ่มผู้นี้นับว่าน่าสนใจ และพลาดไม่ได้ที่จะติดตาม
เมื่อสองปีก่อนทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ไปพบ Blog ของนักเล่นหุ้นคนหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Mudley Group เนื้อหาในนั้นเต็มไปด้วยวิธีการ "เทรด" สไตล์ “เฮดจ์ฟันด์” ค่อนข้างแปลกใหม่และน่าสนใจ จึงมีการติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อขอพูดคุยด้วย! แต่ปลายสายตอบกลับมาว่า...ผมยังไม่สะดวกที่จะเปิดเผยตัวเองตอนนี้ครับ!!!
วันนี้เขาตอบตกลงที่จะให้สัมภาษณ์สื่อเป็นครั้งแรก ทีมข่าว "บิซวีค" มีนัดหมายกับเทรดเดอร์หนุ่มที่ออฟฟิศย่านถนนสุขุมวิท โดยมี ณสุ จันทร์สม อดีตผู้จัดการกองทุนชื่อดัง ที่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นเจ้าของบริษัทจัดการลงทุน Tranquility Asset Management ที่สิงคโปร์ ร่วมวงสนทนาอยู่ด้วย
“เรากำลังจะจัดตั้งกองทุนในต่างประเทศแต่กำลังหาทางนำมาเสนอให้นักลงทุนไทยด้วย จะเรียกว่าเป็นเฮดจ์ฟันด์หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกกัน” ณสุ เริ่มต้นขึ้น
อดีตผู้จัดการกองทุนคนดัง เล่าว่า ปัจจุบันตนเองนั่งบริหารอยู่ที่สิงคโปร์แต่มีออฟฟิศที่กรุงเทพฯด้วย คอยบริหารกองทุนที่ไปจัดตั้งบน “เกาะเคย์แมน” ลงทุนทั่วโลกรวมถึงหุ้นไทยด้วย ได้มีโอกาสรู้จักกับ ปณต จิตต์การุญ เมื่อสองปีก่อนเพราะได้ดีลงานกัน ชอบวิธีการลงทุนของเขาเลยให้เงินทุนและแนะนำลูกค้ารายใหญ่ให้
จุดเด่นของปณต เขาไม่สนใจว่าจะทำกำไรได้มากหรือน้อย เขาจะสนใจในการป้องกันการขาดทุน เวลา บลจ.ไทยลงทุนถ้าตลาดลง 10% แต่บริหารขาดทุนแค่ 5% ถือว่า "ชนะตลาด" แต่ลูกค้า "ไม่ปลื้ม" แต่ปณตหาวิธีให้เขามีกำไรตลอด...เมื่อเห็นฝีมือ ณสุ จันทร์สม จึงอาสามาเป็น "พี่เลี้ยง" ช่วยปณตจัดตั้งกองทุนของตัวเองพร้อมสนับสนุนเงินลงทุนเริ่มต้นหลัก “ร้อยล้านบาท” แต่กองทุนนี้ไม่ผ่านสำนักงาน ก.ล.ต.ของไทย โดยไปจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน แล้วไปจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีกับคัสโตเดี้ยน มาช่วยงานหลังบ้าน
“ผมให้เงินปณตกับคนสิงคโปร์คนหนึ่งมาบริหารพอร์ตให้ผม อีกคนเขาเคยทำงานอยู่กองทุน GIC จะมาดูพอร์ตลงทุนในเอเชียให้ผม ส่วนปณต ผมจะพยายามให้มาขายนักลงทุนไทยให้ได้แม้จะยากในการนำเงินออกไปข้างนอก แต่สักวันจะต้องมีคนรู้จักชื่อกองทุนของเรามากขึ้น อีกหน่อยพวกโบรกเกอร์, กบข., ประกันสังคม อาจเป็นลูกค้าเราก็ได้เพราะผมมั่นใจว่าของเราเจ๋งจริง” ณสุ ถือโอกาสโฆษณากองทุนที่เขาเป็นโต้โผใหญ่
อดีตผู้จัดการกองทุนคนดัง กล่าวว่า กองทุนของเขาที่มีปณตเป็นผู้บริหาร อยู่ระหว่างแก้ไขเนื้อหาในเอกสารบางส่วน น่าจะเสร็จใน 2-3 เดือนนี้ คนไทยที่อยากลงทุน (ซื้อหน่วยลงทุน) อาจต้องไปซื้อในต่างประเทศจะให้ผ่าน ก.ล.ต.ไทยคงยากมีข้อจำกัดเยอะ โดยเจ้าตัวยืนยันว่ามีคนไทยไปจัดตั้งกองทุนลักษณะนี้ที่เกาะเคย์แมนเยอะแยะ คนไทยที่มีเงินอยู่ต่างประเทศก็หาซื้อได้
ณสุ ยืนยันว่าจะเดินหน้าไปคุยกับ ก.ล.ต.และสมาคม บลจ.ให้เข้าใจเพื่อให้คนไทยมีโอกาสได้ลงทุนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าจะซื้อโดยตรงลูกค้าบุคคลต้องเริ่มตั้งแต่ 5 ล้านบาท ส่วนสถาบันเริ่มที่ 50 ล้านบาท ช่วงซับไพร์มตลาดหุ้นลงทั่วโลก ถ้าเป็น บลจ.ไทยลงทุนก็เละหมด แต่เด็กคนนี้ (ปณต จิตต์การุญ) รักษาพอร์ตให้มีกำไรได้ จากวิธีการเทรดที่เป็นแบบเฉพาะตัวของเขา..ผมอยู่ในวงการนี้เป็นสิบปี บอกได้เลยว่าเด็กคนนี้ไม่ธรรมดา ณสุ ประทับตรายืนยัน
เป็น 'เซียนหมากรุก' ก่อนเป็น 'เซียนหุ้น' คราวนี้มาถึง "ต้าน" ปณต จิตต์การุญ เริ่มแนะนำตัวเองบ้าง! เทรดเดอร์รายนี้มีอายุเพียง 31 ปี ตั้งแต่สมัยเด็กเคยเป็นเซียนหมากรุกดาวรุ่ง เป็นลูกศิษย์ “เซียนป่อง” สุชาติ ชัยวิชิต ปรมาจารย์หมากรุกไทย ชีวิตวัยเด็กพ่อพาตระเวนแข่งขันหมากรุกล่ารางวัลเอาชนะมาทั่วสารทิศ
“ผมชอบคณิตศาสตร์ ชอบการคำนวณ ตอนเด็กๆ เคยไปแข่งคณิตศาสตร์ได้รางวัลมาบ้าง ที่สนใจตลาดหุ้นเพราะใช้การคำนวณแต่มีเรื่องของจิตวิทยามาเกี่ยวข้องด้วยทำให้ผมรักมัน พอรักแล้วก็ไม่ได้มองว่ามันเป็นงานแต่เป็นสิ่งที่เราชอบ ทำให้มีการพัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ”
เทรดเดอร์หนุ่มอธิบายว่า เกมหมากรุกกับตลาดหุ้น จริงๆ แล้วมีความใกล้เคียงกันมันคือ "เกมผลประโยชน์" เราต้องอ่านให้ออกว่า ทำไม! เขาวางผลประโยชน์มาให้ เช่น เอา "เรือ" มาให้ "กินฟรี" แปลว่ากำลังต้องการอะไรจากเราอยู่ ตลาดหุ้นก็เช่นกันมีรูปแบบของผลประโยชน์ผ่านการใช้ "สื่อ"
ต้าน เล่าว่า เริ่มเข้ามาสัมผัสตลาดหุ้นช่วงปี 2540 ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ตอนนั้นเรียนอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เริ่มชักชวนเพื่อนๆ ให้นำเงินมาฝากแล้วเอาไปลงทุนได้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่ดี ตั้งชื่อกลุ่มว่า Mudley จึงเริ่มต้นชื่อนี้ตั้งแต่ตอนนั้น
“ตอนเรียนปี 4 ผมชนะการแข่งขัน University Stock Competition (USC 2002) ของตลาดหลักทรัพย์ด้วยการแข่งขันเทรดหุ้นภายในระยะเวลาสามเดือน ถือเป็นนักศึกษาวิศวะฯ คนแรกที่ชนะ เพราะที่ผ่านมามีแต่เศรษฐศาสตร์ ไม่ก็บัญชี”
ต่อมามีนักลงทุนชาวสวิตเซอร์แลนด์เห็นแววติดต่อให้ช่วยบริหารเงินให้รวมถึงมีลูกค้าต่างชาติและคนไทยหลายคนให้ช่วยบริหารพอร์ตให้ จนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตขึ้น
"นักลงทุนฝรั่งคนนั้นบอกผมว่า ถ้าจะมาบริหารพอร์ตให้ต้องแสดงความจริงใจด้วยการลาออกจากมหาวิทยาลัย เขาบอกว่าถ้ารักจริง "ต้องกล้า" ผมจึงลาออกตอนนั้นเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 แล้วด้วย ถือว่า "ช็อก" ที่บ้านพอสมควร แต่เป็นโจทย์สำคัญมากในชีวิตที่บ้านก็ไม่ได้มีเงินมากนัก ต่อมาฝรั่งคนนั้นก็ให้ทุนผมไปเรียนวิชาเทรดเดอร์ที่อเมริกา"
เด็กหนุ่มเล่าว่า พอไปถึงอเมริกา เขายังไม่ให้ฝึกเทรด แต่ให้ฝึกเล่นไพ่โป๊กเกอร์ก่อน โดยให้เหตุผลว่าการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จต้องเข้าใจหลายอย่าง การเล่นไพ่โป๊กเกอร์ คือการฝึกบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพโดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์และสถิติมาช่วย เขาให้ฝึกมองคนร่วมโต๊ะด้วยว่ากำลังคิดอะไรอยู่ หลังจากนั้นถึงได้ฝึกเรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคการเทรดแบบต่างๆ เช่น พวกอนุพันธ์ หลายอย่างก็ไม่มีในประเทศไทย
เข้าสู่สนาม 'เฮดจ์ฟันด์' ที่ลอนดอน หลังจากเรียนวิชาเทรดเดอร์ได้สองปี ปณต มีโอกาสเข้าทำงานที่ Altera Partners Management มีฐานอยู่ที่กรุงลอนดอน ต้องประสานงานร่วมกับกองทุนอื่นๆ ทั่วโลกทั้งในอเมริกา ยุโรปและเอเชีย โดยปณตอยู่ประจำที่สำนักงานกรุงเทพฯ โดยใช้ไทยเป็นฐานข้อมูลในเอเชียค่าตัวพนักงานก็ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับในยุโรป และเป็นสถานที่เฟ้นหาเทรดเดอร์ที่เป็น Talent (ดาวรุ่ง) ในเอเชียได้ด้วย
"มีคนถามว่าไม่จบปริญญาตรีทำไม! เข้าทำงานได้ ซึ่งฝรั่งเขามองผลงานมากกว่าปริญญา เวลาที่ผมสมัครก็ใช้ประวัติการเทรดในการคัดเลือก โชคดีมากที่ผมเข้าทำงานที่นี่ได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก"
หน้าที่ของปณต ต้องศึกษาโมเดลการเทรดของเฮดจ์ฟันด์อื่นทั้งที่สำเร็จและล้มเหลว และนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการเทรด ทำให้รู้ต้นเหตุความล้มเหลวของเฮดจ์ฟันด์หลายกองคือการใช้ Leverage ที่สูงเกินตัวเป็นหลัก "ร้อยเท่า" พวกนี้จะเน้นแต่ผลตอบแทนเท่านั้น ถ้าตลาดดีก็จะดีตามไปด้วยแต่พอตลาดลงก็อาจจะ "ล้ม" ได้
แต่กองทุนที่อยู่มาได้นาน 30 ปี หัวใจสำคัญของเขาคือป้องกันส่วนของ “ทุน” และนำส่วนที่เป็นกำไรนำมา Leverage ทีหลัง นี่คือสิ่งที่คนไทยยังเข้าใจผิดมากว่าเฮดจ์ฟันด์ต้องเล่นทุ่มสุดตัวทั้งหมด ถ้าเน้นผลตอบแทนสูงๆ จะต้องนำเงินทั้งหมดไปลงถ้าพลาดก็จะเสียเงินที่ลงไปด้วย แต่ถ้านำเฉพาะกำไรมาเล่นถ้าพลาดก็ยังมีทุนเหลือ ถ้าได้กำไรก็มีส่วนของทุนงอกขึ้นมาใหม่
นอกจากนี้ เฮดจ์ฟันด์หลายกองในสหรัฐ ยังสนับสนุนวงการคณิตศาสตร์และพยายามที่จะสื่อสารทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า "ทุนนิยม" กำลังมีปัญหามี "จุดอ่อน" อะไรอยู่ แต่หลายคนไม่สนใจก็เลยต้องโจมตีช่องว่างดังกล่าว เฮดจ์ฟันด์จึงเป็นพวก "ปฏิบัตินิยม" มากกว่าเน้น "ทฤษฎี"
มีผลงานทำ 'กำไร' ช่วงวิกฤติ 'ซับไพร์ม' กองทุน Altera Partners Management เคยมีสินทรัพย์สูงถึง 500 ล้านเหรียญ ถือว่าเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ก่อนหน้านั้นช่วงที่ทำหน้าที่พัฒนาโมเดลเทรด Altera จะคอยคัดเลือกกองทุนที่มีผลงานดีๆ ทั่วโลกนำมาเสนอให้กับลูกค้า ทำให้ปณตเรียนรู้การทำงานของผู้จัดการกองทุนระดับโลกหลายคนและนำมาประยุกต์จนเป็นแนวทางการเทรดของตัวเอง เพราะการ "ก๊อบปี้" คนอื่นไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับเป็น "ต้นแบบ" เอง
เขาเริ่มมีประสบการณ์เทรดจริงจังในช่วงต้นปี 2551 ขณะที่กำลังเกิดวิกฤติซับไพร์มพอดี แต่ด้วยข้อจำกัดของความเป็นคนเอเชียทำให้ไม่ได้รับโอกาสเท่าที่ควร แม้จะพัฒนาการเทรดมาสองปีเต็ม แต่ได้แบ่งพอร์ตมาเทรดเล็กน้อยเท่านั้น
“ผมลงทุนนำเงินเก็บส่วนตัวมาเทรดให้ดูก่อนแล้ว แต่ความเป็นคนเอเชียทำให้ได้รับโอกาสน้อย ผลงานของผมตอนนั้นทุกคนขาดทุนหมดแต่ผมสามารถมีกำไรได้ เลยน้อยใจเล็กๆ แถมสุขภาพก็ไม่ดีด้วย แต่ก็เข้าใจเขาเพราะว่าตอนนั้นใครๆ ก็เครียดกันหมด เลยตัดสินใจออกมาเทรดเองเลยดีกว่าและได้พี่ณสุมาช่วยตั้งกองทุนให้”
เขาตัดสินใจเผยแพร่แนวคิดนี้ไปยังผู้อื่นผ่านเว็บบอร์ดชื่อดังแห่งหนึ่งและมีแฟนคลับตั้งกลุ่มให้ว่า KZM ซึ่งย่อมาจาก Killer Zone by Mudley Group
"ผมพยายามสร้างชื่อ Mudley มาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยโดยนำเงินของเพื่อนๆ ไปลงทุนให้และเน้นรักษาเงินต้น ทำให้มีชื่อเสียงในกลุ่มคนเล็กๆ เพราะผมไม่อยากจะออกมาพูดอะไรมากนัก ในวงการนี้ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ คนที่มาฝากผมลงทุนให้ก็ไม่เคยทำให้เสียเครดิตโดยการรักษากำไรให้เขามาตลอด"
สิ่งที่ปณตต้องการทำต่อไป คือ การแชร์ความรู้เหล่านี้ในวงกว้างและให้เกิดการแบ่งปันซึ่งกันและกัน โดยการไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยถึงแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม เขาเน้นย้ำว่าถ้าหากทำอะไรที่มีผลประโยชน์ซ่อนอยู่คงไม่สามารถสร้างชื่อได้นานขนาดนี้ เช่นการไปเชียร์ให้ซื้อหุ้น แบบนี้ชื่ออาจจะอยู่ได้ไม่นาน
“นักลงทุนที่มาเรียนกับเราสามารถอยู่รอดในตลาดได้หมด ทุกคนผ่านช่วงซับไพร์มมาได้ นี่คือ เครื่องพิสูจน์ สิ่งที่เรากำลังทำต่อไปคือการขยายแนวการลงทุนแบบนี้ อย่างเช่นที่เราจัดการอบรมเทรดเดอร์รุ่นใหม่ให้มีการแข่งขันกัน ทุกอย่างนี้ผมไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย”
เส้นทางชีวิตของ "เทรดเดอร์หนุ่ม" มีบางแง่มุมที่ใครหลายคนหยิบฉวยไปใช้ได้ ตอนหน้าเทรดเดอร์หนุ่มไร้ปริญญาจะมาเล่าต่อถึงแนวทางการลงทุนที่เขาพัฒนามาเป็นสิบปี...แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ "ปณต จิตต์การุญ" ปั่น "กำไร" ตีแตก "วิกฤติซับไพร์ม" ห้ามพลาด!!!
INFO: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์