------------------------------------------ ------------------------------------------------------------ trader: ตุลาคม 2012

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

BTS - ซื้อ รายงานขายเงินลงทุนในบริษัทย่อยที่ถือครองที่ดิน

เย็นวานนี้ BTS รายงานการขายเงินลงทุนทั้งหมดใน บจ.ก้ามปู ซึ่งถือครองที่ดินในบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟฟ้านานา ซึ่งจะทำให้ในการรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 (ต.ค.-ธ.ค.) ราวเดือน ก.พ. จะเห็นภาพกำไรพิเศษสูงถึงราว 2.1 พันล้านบาท (รวมกับกำไรพิเศษจากการร่วมขาย IPO ของ VGI ก่อนหน้า) โดย BTS อยู่ระหว่างพิจารณาถึงแนวทางการใช้เงินสดรับจำนวนมากนี้ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในรูปเงินปันผลพิเศษ หรือ การเร่งชำระหนี้สินธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนให้แข็งแรงขึ้น ทั้งหมดล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เราคงมุมมอง "บวก" ต่อดีลนี้ และคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 7.00 บาท/ หุ้น อิง SOTP

ความเห็นและคำแนะนำ
จำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย : เย็นวานนี้ BTS ได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ว่า ได้จำหน่ายเงินลงทุนในหุ้นทั้งหมดของ บจ.ก้ามปู ซึ่งถือที่ดินรวมประมาณ 3 ไร่ บริเวณสถานีรถไฟฟ้านานา โดยจะได้เงินจากการขาย 1.8 พันล้านบาท (โดยเงินลงทุนนี้ได้บันทึกมูลค่าทางบัญชีไว้ที่ 1 พันล้านบาท มีราคาประเมิน 1.2 พันล้านบาท)

ผลกระทบทางบวกต่อกำไรพิเศษ และกระแสเงินสด : การขายเงินลงทุนเหล่านี้เป็นไปตามทิศทางที่เราคาดไว้ โดย BTS อธิบายว่า คาดจะบันทึกกำไรพิเศษหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆราว 680 ล้านบาท ในไตรมาส 3Q55/56 (ต.ค.-ธ.ค.) ดังนั้นกำไรพิเศษรวมในไตรมาส 3 นี้ มีแนวโน้มว่าจะสูงถึง 2.1 พันล้านบาท เมื่อรวมกำไรจากการนำหุ้น VGI ร่วมขาย IPO ราว 1.5 พันล้านบาทก่อนหน้า โดย EPS จากกำไรพิเศษเหล่านี้จะสูงถึง 0.21 บาท/ หุ้น (3.7% ของราคาหุ้นปัจจุบัน) ทำให้ความคาดหวังถึงการจ่ายปันผลพิเศษจะยิ่งสูงมากยิ่งขึ้นไปอีก หรือในอีกทางเลือก BTS อาจนำเงินสดเหล่านี้ (ราวเกือบ 4 พันล้านบาท) ไปชำระคืนหนี้ที่มีอยู่ได้เช่นกัน ทำให้โครงสร้างเงินทุนจะแข็งแกร่งขึ้นไปอีกจากระดับ D/E ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น

คำแนะนำ :
สำหรับนักลงทุนระยะสั้น : วันนี้มีลูกหุ้น 110.7 ล้านหุ้นเข้ามาเทรดในกระดาน ซึ่งอาจมีแรงขายทำกำไรได้ การเก็งกำไรระยะสั้นโปรดระมัดระวังแรงขายดังกล่าว (หมายเหตุ : ยังคงเหลือหุ้นกู้แปลงสภาพฯ ที่สามารถแปลงเป็นหุ้น BTS ได้ราว 698 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.7% ของหุ้นทั้งหมด)
สำหรับนักลงทุนระยะยาว : ธุรกิจหลัก (รถไฟฟ้า โดย BTSC, สื่อโฆษณา โดย VGI) ยังคงเติบโตได้อย่างดีตามปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และ การขยายพื้นที่โฆษณาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในห้างโมเดิร์นเทรด เราคาดว่า BTS มีแนวโน้มจะรายงานกำไรปกติทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในไตรมาส 2 นี้อีกด้วย (คาดประกาศงบราว 12-13 พ.ย.) เราคงคำแนะนำสำหรับนักลงทุนระยะยาวในลักษณะของการทยอย "ซื้อ" สะสม จะเป็นกลยุทธ์ที่ดีระหว่างรอหุ้นกู้แปลงสภาพหมดไปภายใน ม.ค. 2556 นี้ เราประเมินราคาเหมาะสมปี 2555/56 ที่ 7.00 บาท/ หุ้น (อิง SOTP และ fully diluted จาก BTS-W2 และ การแปลงสภาพของ CD แล้ว)

INFO: kimeng

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เลือกวิธีประเมินมูลค่าหุ้น

 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

         การประเมินมูลค่าหุ้นนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ศาสตร์ที่ชัดเจนและมีการสอนกันทั่วไปก็คือการใช้ตัวเลขและอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ  มาคำนวณหามูลค่าของหุ้น  ในทางปฏิบัติมีตัวเลขหรืออัตราส่วนอย่างน้อย 4-5 อย่างที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น  การใช้ค่า  PE  หรือราคาเมื่อเทียบกับกำไรต่อหุ้น  ค่า PB หรือราคาเมื่อเทียบกับมูลค่าทางบัญชี  ค่า DP หรือปันผลเมื่อเทียบกับราคาหุ้น  หรือการหา  DCF  หรือการหาค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่บริษัทจะสามารถสร้างได้ในอนาคต  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีความรู้ทางการเงินขั้นสูง  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม  นักวิเคราะห์หุ้นและนักลงทุนที่อิงกับแนวพื้นฐานทั้งหลายซึ่งรวมถึง  VI ส่วนใหญ่ก็มักจะประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้ค่า  PE  เป็นหลัก  โดยอาจจะมีค่า  PB  เป็นตัวประกอบบ้าง  ดูเหมือนว่าค่า  PE  จะเป็น  “กฎเหล็ก”  ที่จะบอกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นควรจะเป็นเท่าไรสำหรับนักวิเคราะห์และนักลงทุนจำนวนมาก  พูดง่าย ๆ  ถ้าหุ้นตัวไหนมีค่า  PE  ที่สูงลิ่วแล้ว  หุ้นตัวนั้นก็มักจะถูกบอกว่าเป็นหุ้นที่แพงเกินพื้นฐาน  ส่วนที่มีค่า PE  ต่ำก็กลายเป็นหุ้นถูก  และนี่คือการเน้นใช้แต่ศาสตร์  ไม่ได้ใช้ศิลป์ในการประเมินมูลค่าหุ้นเท่าที่ควร

          ศิลป์ที่สำคัญในการประเมินมูลค่าหุ้นนั้น   มีมากมาย  แต่ที่ผมจะพูดนั้นเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าสำคัญและมีความผิดพลาดเกิดขึ้นตลอดเวลา  ศิลป์ที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องว่าเราจะให้ค่า PE เท่าไรสำหรับหุ้นแต่ละตัว  เพราะนี่อาจจะเป็นเรื่องรอง  สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ  ศิลปะในการเลือกเครื่องมือหรืออัตราส่วนหรือเทคนิคที่จะใช้ประเมินมูลค่าหุ้นต่างหาก   นั่นก็คือ  ผมกำลังบอกว่าเวลาจะประเมินมูลค่าหุ้นนั้น   อย่าเริ่มจากการดูค่า  PE  เพราะค่า  PE  นั้น  ถ้าเราจะใช้เราควรจะต้องมั่นใจว่า  E  หรือกำไรของบริษัทมีความสม่ำเสมอและจะไม่ลดลงในอนาคต   ดังนั้น  ถ้าเราไม่แน่ใจว่ากำไรของบริษัทจะมีลักษณะแบบนั้นหรือไม่  เราก็ไม่ควรใช้ค่า  PE  เป็นหลักในการประเมินมูลค่าหุ้น   ประเด็นก็คือ  หุ้นในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมากและน่าจะเป็นส่วนใหญ่ด้วย  ไม่ได้มีคุณสมบัติอย่างนั้น   บริษัทในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตและขายสินค้าที่เป็นโภคภัณฑ์มักจะมีกำไรขึ้น ๆ  ลง ๆ   ตามราคาสินค้าในตลาดโลก  ดังนั้น  การใช้ค่า PE  จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม  บริษัทที่เพิ่งฟื้นตัวและเพิ่งจะมีกำไรนั้น   เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ากำไรนั้นจะต่อเนื่องและไม่ลดลงมาในอนาคต?   ดังนั้น  จะใช้ค่า  PE ได้อย่างไร?  แต่ถ้าไม่ใช้ค่า  PE  แล้ว   เราจะใช้ค่าไหน?

           ประเด็นก็คือ  ถ้าเราใช้ค่า  PB  เราจะตีมูลค่าของหุ้นอย่างไร  ยกตัวอย่างเช่น  ถ้ามูลค่าทางบัญชีเท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น  หุ้นตัวนั้นควรจะมีราคาเป็นกี่เท่าถึงจะเรียกว่าเหมาะสม  2 เท่า  หรือ  3  เท่า  หรือ  10 เท่า?   เหนือสิ่งอื่นใด  มูลค่าทางบัญชีนั้น  อาจจะไม่ใช่  “ของจริง”  เพราะสินทรัพย์อาจจะได้มานานและอาจจะเป็นที่ดินที่มีราคาตลาดสูงกว่านั้น  หรือตรงกันข้าม  ทรัพย์สินอาจเป็นโรงงานที่ล้าสมัยและมีค่าน้อยลงมาก   ดังนั้น  มูลค่าทางบัญชีก็อาจจะมีความหมายน้อย   เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  บริษัทอาจจะไม่ได้อาศัยทรัพย์สินที่จับต้องได้มาทำมาหากิน  บริษัทอาจจะหาเงินหรือสร้างรายได้จากยี่ห้อหรือความนิยมอื่น ๆ  ดังนั้น  การประเมินมูลค่าหุ้นจากทรัพย์สินทางบัญชีของบริษัทจึงอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับหลาย ๆ  บริษัท   สรุปว่า  การใช้ค่า  PB สำหรับหลาย ๆ  บริษัทก็อาจจะเป็นความผิดพลาดเช่นกัน  และอาจจะยิ่งแย่กว่าการใช้ค่า  PE

           ถ้าเราจะถกเถียงถึงเทคนิคแต่ละอย่างในการใช้ประเมินมูลค่าบริษัทไปเรื่อย ๆ  เราก็จะพบว่าแต่ละอย่างก็มีจุดดีและจุดด้อยถ้าเราใช้กับทุกบริษัทโดยไม่แยกแยะก่อนว่าบริษัทที่เรากำลังวิเคราะห์หรือประเมินนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร   ดังนั้น  วิธีที่ดีกว่าก็คือ  เราต้องวิเคราะห์ธรรมชาติของธุรกิจแต่ละบริษัทว่าเป็นอย่างไร    จากนั้นจึงมาดูว่าเราจะใช้เครื่องมืออะไรเป็นหลักในการประเมินมูลค่าหุ้น  และจะใช้อัตราส่วนไหนเป็นตัวประกอบที่จะทำให้การประเมินของเราถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  และนี่ก็คือศิลปะที่  VI  จำเป็นต้องมี  และต่อไปนี้ก็คือ  ตัวอย่างที่ VI อาจจะลองนำไปพิจารณาใช้

           หุ้นกลุ่มที่มีผลประกอบการสม่ำเสมอและกำไรไม่ลดลงในอนาคต  เช่น  หุ้นในกลุ่มที่อิงกับการบริโภคและบริษัทเป็นผู้นำ  สินค้าของบริษัทไม่ใช่สินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาอิงกับตลาดโลก  ซึ่งน่าจะรวมถึงกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่  โรงพยาบาล  กลุ่มสาธารณูปโภค  เช่น  รถไฟฟ้า  ทางด่วน  การผลิตและจำหน่ายน้ำหรือไฟฟ้า  ต่าง ๆ เหล่านี้  เราน่าจะสามารถใช้ค่า  PE  เป็นหลักได้    หุ้นสถาบันการเงิน  เช่น  กลุ่มธนาคารพาณิชย์ นั้น  เราอาจจะใช้ค่า  PE ประกอบกับค่า  PB  ในการประเมินมูลค่าหุ้นได้  ค่า  PE  นั้นพูดถึงการทำกำไร  แต่ค่า  PB  เองก็มีประโยชน์  เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่ของธนาคารเป็นเรื่องของเงินที่น่าจะมีมูลค่าตลาดใกล้เคียงกับมูลค่าทางบัญชี  ดังนั้น  PB  ที่ต่ำหรือสูงก็สามารถบอกถึงความถูกความแพงได้พอสมควร     หุ้นของบริษัทที่กำลังเติบโตและมีศักยภาพที่จะกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกนั้น  บางทีการใช้ค่า  PE  และ  PB  ก็อาจจะไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ  เราอาจจะมองถึง  Market Cap.  หรือมูลค่าตลาดของหุ้นว่าในระยะยาวมันควรจะเป็นเท่าไร  หรือไม่ก็เทียบกับหุ้นขนาดใหญ่อื่น ๆ  ในตลาดว่าในที่สุดมันจะมีมูลค่าถึงแค่ไหนเป็นต้น

            หุ้นที่มีกำไรไม่สม่ำเสมอหรือเป็นวัฎจักรนั้น  การใช้ค่า  PE  คงไม่เหมาะสม  การใช้ค่า  PB เองก็จะต้องดูว่ามูลค่าทางบัญชีนั้นใกล้เคียงกับมูลค่าตลาดของทรัพย์สินหรือไม่  ถ้าใช่  หรือเราสามารถปรับมูลค่าทางบัญชีให้ใกล้เคียงกับราคาตลาด  การใช้ค่า  PB  ก็อาจจะมีประโยชน์และดีกว่าค่า  PE  อย่างไรก็ตาม  การประเมินด้วยวิธีการแบบนี้ความแม่นยำก็อาจจะน้อย  ดังนั้น  ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว   เราก็อาจจะต้องยอมรับอย่างที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดไว้ว่ามัน  “Too Hard”  หรือ  “ยากเกินไป”  ดังนั้น  เราไม่ประเมินดีกว่า

            การใช้ตัวเลขหรืออัตราส่วนหลาย ๆ  ตัวมาช่วยประกอบกัน   รวมถึงการให้น้ำหนักของปัจจัยในการกำหนดมูลค่าของหุ้น  เช่น  ปันผล   การเติบโตของกิจการ  กระแสเงินสดที่ได้รับ  และองค์ประกอบอื่น ๆ  ทั้งที่ดีและไม่ดีของบริษัท  จะช่วยให้เราสามารถประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น   แต่ไม่ว่าจะใช้เทคนิคและความรู้ความเข้าใจแค่ไหนก็ตาม  พึงระลึกเสมอว่า  ศาสตร์และศิลป์ของการประเมินมูลค่าของกิจการนั้นให้ผลสูงสุดแค่ว่ามัน  “Approximately  Right”  หรือถูกแบบ  “ประมาณว่า..”  ไม่ใช่ถูกแบบตรงเป้า  ดังนั้น  การเผื่อความปลอดภัยโดยการซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างน้อยอีก 20-30%  จึงเป็นสิ่งจำเป็น     และถึงกระนั้นแล้วก็ยังไม่เพียงพอ  เราจำเป็นที่จะต้องลดความเสี่ยงลงไปอีกโดยการกระจายการถือหุ้นหลาย ๆ  ตัว   อย่างน้อย 5-6 ตัวในกรณีพอร์ตไม่ใหญ่นัก  และ  กว่า 10 ตัวขึ้นไปในกรณีที่พอร์ตค่อนข้างใหญ่  เพื่อที่จะสามารถรักษาเงินต้นไว้ได้แม้จะเกิดสถานการณ์ที่ร้ายแรงในตลาดหุ้นและหุ้นที่เราลงทุน


INFO: http://portal.settrade.com/blog/nivate/2012/10/29/1193

RML (บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน)) งบ Q3 เริ่ด! กำไรพุ่ง275ล้าน โอนเดอะริเวอร์

RML (บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน)) งบ Q3 เริ่ด! กำไรพุ่ง275ล้าน โอนเดอะริเวอร์

          "ไรมอนแลนด์" คาดไตรมาส 3/55 พลิกกำไรสุทธิ 275 ล้านบาท จากไตรมาส 3/54 ขาดทุน 23 ล้านบาท และโตกระฉูด 172% จากไตรมาส 2/55 หลังโอนโครงการเดอะริเวอร์เพิ่มขึ้น ลุ้นไตรมาส 4/55 กำไรทุบสถิติสูงสุดรอบปี

    งบ Q3/54 ออกวันที่ 14 พฤศจิกายน 2555

BLAND ลั่นปันผลต่อ​เนื่อง ​เตรียม​แบ่งขายที่ดินจ่ายค่าหุ้นอิม​แพคฯ


บมจ.บางกอก​แลนด์(BLAND)ลั่นจ่ายปันผล​ให้​ผู้ถือหุ้น​ได้อย่างต่อ​เนื่องทุกปีนับจากนี้​ไม่ต่ำกว่างวดปีก่อน(สิ้นสุด มี.ค.55)​ซึ่ง​เป็น​การจ่าย​เงินปันผลครั้ง​แรก​ในรอบ 15 ปี ​ในอัตรา 0.02 บาท/หุ้น หลังจาก​เข้าซื้อหุ้น บริษัท อิม​แพ็ค ​เอ็กซิบิชั่น ​แม​เนจ​เม้นท์ จำกัด (อิม​แพ็ค)​ในสัดส่วน 44.82% ​ในราคารวม 3,000 ล้านบาท จาก South East Asia Opportunities Fund Limited ​ซึ่งจะ​ทำ​ให้อิม​แพ็คจะมีฐานะ​เป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น​ทั้ง 100%

บริษัทคาดว่างวดปี 55/56 อิม​แพ็คจะมีราย​ได้​เติบ​โต​ไม่ต่ำกว่า 5-10% จากที่​ทำ​ได้ 2.2 พันล้านบาท​ในงวดปีก่อน ​โดย​ในอนาคตบริษัทคาดว่าจะนำอิม​แพ็ค​เข้าจดทะ​เบียน​ในตลาดหลักทรัพย์​ไทย​หรือต่างประ​เทศด้วย

นายอนันต์ กาญจนพาสน์ ประธานกรรม​การ BLAND กล่าวว่า ​การที่บริษัทกลับมาถือหุ้นอิม​แพ็ค​ทั้ง 100% จากที่ถือ 55.18% ​ทำ​ให้บริษัทมี​เงินสดหมุน​เวียน​เพิ่มขึ้น 1 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังสามารถบริหารงาน​และ​การตัดสิน​ใจ​เชิงกลยุทธ์​เกิด​ความคล่องตัว​และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ​และอนาคต​ก็จะนำอิม​แพ็ค​เข้าตลาดหลักทรัพย์ อาจจะ​เป็นตลาดหลักทรัพย์​ไทย​หรือตลาดต่างประ​เทศ

"​เมื่อบางกอก​แลนด์ถือหุ้น 100% ​ในอิม​แพ็ค ​เรามี​โอกาส spin off 25% ​เราถือ 75%... ​เรา​ได้อิม​แพ็คกลับมา 100% ​เหมือน​เรา​ได้​แม่นมกลับมา​แล้ว ​เราสามารถรีดนมกลับมา​ได้ทุกปี ​การจ่าย​เงินปันผลจากนี้​ไป​ไม่มีปัญหา จ่าย​ได้ทุกปี ​แม่นมนี้​เป็นพันธุ์ดีมี​โอกาส​เติบ​โต ​เรามี​โครง​การ​ในอนาคต ​เราคง​ไม่นำ​เข้าตลาดหุ้น​ใน​เวลาอันสั้น" นายอนันต์ กล่าว

นายอนันต์ กล่าวว่า บริษัท​เตรียม​แบ่งขายที่ดินบนถนนศรีนครินทร์ติดกับถนนวง​แหวนรอบนอกที่มีอยู่​ทั้งหมด 1,350 ​ไร่ ประ​เมินมูลค่าราว 1,600 ล้านบาท ​โดยจะ​แบ่งขายล็อต​แรกราว 600-700 ​ไร่ ​เพื่อนำ​เงิน​ไปจ่ายค่าหุ้นอิม​แพ็ค ​โดย​ได้จ่ายงวด​แรก 600 ล้านบาท​เมื่อ 26 ต.ค.55 ส่วนที่​เหลือจ่ายภาย​ใน​เดือน ม.ค.56 ​ซึ่งหาก​เงินจาก​การขายที่ดิน​ไม่พอ ​ก็อาจ​ใช้​เงินกู้มาสมทบ

​ทั้งนี้ BLAND ถือครองที่ดินรอ​การพัฒนา​ทั้งหมดกว่า 2 พัน​ไร่ ​ซึ่งนอก​เหนือที่ดินบนถนนศรีนครินทร์​แล้ว ยังมีที่ดิน​เปล่า​ใน​โครง​การ​เมืองทองธานีอีก 750 ​ไร่ ​และบนถนน​เพชรบุรีตัด​ใหม่​ใกล้​แอร์พอร์ตลิงค์ 7 ​ไร่ ​ซึ่ง​เตรียม​ไว้​ทำ​โครง​การ​ในอนาคต

นายอนันต์ ​เปิด​เผยว่า BLAND ยัง​ได้รับ​การทาบทามจาก​การรถ​ไฟฟ้าขนส่งมวลชน​แห่งประ​เทศ​ไทย(รฟม.)ที่​เสนอ​เรื่องรถ​ไฟฟ้าสายสีชมพูที่จะ​ให้มีสถานี​เข้ามา​ใน​เมืองทองธานี ​โดย รฟม.​เสนอ​ให้บริษัทออกค่า​ใช้จ่าย 1.2 พันล้านบาท ​แต่บริษัท​เสนอ​ให้ช่วยกันออกคนละครึ่ง ​หรือฝ่ายละ 600 ล้านบาท ​และ รฟม.ขอพื้นที่จอดรถ​ไฟฟ้า(DEPO) ขณะนี้รอผล​การ​เจรจาอยู่

ขณะ​เดียวกันบริษัทวาง​แผนสร้างรถ​ไฟฟ้า​แบบ​โม​โน​เรล​เป็น​เส้นทาง​เชื่อม​โยง​โครง​การ​เมืองทองธานีกับรถ​ไฟฟ้าสายสีชมพู หาก รฟม.​ไม่รับข้อ​เสนอของบริษัท ​และจะสร้างอาคารช้อปปิ้ง​เช็น​เตอร์ ​โดยจะ​ใช้พื้นที่ชั้นล่าง​เป็นที่จอดรถ​โม​โน​เรล

ด้านนายพอล กาญจนพาสน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ อิม​แพ็คฯ คาดว่า ราย​ได้งวดปี 55/56 ​เติบ​โต 5-10% จากปีก่อนที่มีราย​ได้ 2.2 พันล้านบาท กำ​ไรสุทธิ 316 ล้านบาท ​และ​ในปีนี้จะมี​การปรับค่า​เช่า​เฉลี่ย 2-3%

INFO: อิน​โฟ​เควสท์

หลักการเล่นหุ้นให้ชนะตลาด ของเสี่ยยักษ์

"เสี่ยยักษ์"  วิชัย วชิรพงศ์
   สมมติว่า ขณะนั้น SET กำลัง "นิยม" หุ้นกลุ่มไหน เราก็ต้องจับตามองหุ้นกลุ่มนั้น เพราะการ "ฝืนกระแส" จะทำให้เรา "เสี่ยงสูง" ที่จะขาดทุน

หลักการเล่นหุ้นข้อหนึ่งที่ วิชัย วชิรพงศ์ พยายามย้ำ...ในการเล่นหุ้นให้ชนะตลาด "เราต้องพายเรือตามน้ำ อย่าพายเรือทวนน้ำ"

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : "หลักการเล่นหุ้น..คุณอย่าพยายามฝืนภาวะตลาด" เสี่ยยักษ์ เน้นย้ำ..

 จากประสบการณ์..ในตลาดหุ้น 20 ปี เซียนหุ้นพันล้านแนะนำว่า หุ้นที่เล่นแล้วได้กำไรมากกว่าขาดทุน จะเป็นหุ้นที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมของตลาดในช่วงเวลานั้นๆ  ...เราต้องพยายามอ่านหลักจิตวิทยาของตลาดว่า คนอื่นเขาคิดอย่างไร..? กับหุ้นตัวที่เราจะเล่น อย่าพยายาม "คิดเอง-เออเอง" คนเดียว



 "สมมติว่า ขณะนั้น SET กำลัง "นิยม" หุ้นกลุ่มไหน เราก็ต้องจับตามองหุ้นกลุ่มนั้น เพราะการ "ฝืนกระแส" จะทำให้เรา "เสี่ยงสูง" ที่จะขาดทุน"    

 วิชัยบอกว่า การเล่นหุ้นฝืนทิศทางตลาด..เล่นแล้วมันเหนื่อย !!! เหมือนการขึ้นรถผิดคัน ทำไม! รถคันนี้มันถึงไม่ออกจากท่ารถสักที เรารอแล้วรออีก คันนี้ก็ไป คันนั้นก็ไปก่อน

 คำเปรียบเทียบที่เซียนหุ้นรายนี้บอกให้ฟัง การเล่นหุ้นที่จริงมันเป็นแฟชั่น คุณไปเที่ยวทะเลคุณต้องใส่ขาสั้นไป ถ้าคุณใส่กางเกงยีนส์สวมรองเท้าบูต มันไม่เข้ากัน ถ้าวันไหนอากาศหนาว (สภาวะตลาดไม่ดี) จะขึ้นเหนือก็ต้องใส่เสื้อแจ๊คเก็ต ระวังตัวเอาไว้หน่อย แต่เราดันใส่ขาสั้นไปเที่ยวเหนือตอนอากาศหนาว..มีแต่เจ๊ง!

 "เราต้อง Follow the Trend หรือซื้อตามแนวโน้มตลาด"

 คำว่า "รู้จริง" จะต้องเข้าใจทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การที่คุณอ่านหนังสือ เท่ากับรู้แค่ทฤษฎี ยังถือว่า "รู้ไม่จริง" ต้องเอา 2 อย่างนี้มาใช้ร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น  

 ประเด็นนี้ วิชัยมองว่า ประสบการณ์ชีวิตของนักเล่นหุ้นแต่ละคน บางครั้งก็อาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จ เพราะทัศนคติที่ติดตัวมาในอดีตของแต่ละคน เมื่อเข้าสู่ตลาดหุ้น มักจะมีผลต่อพฤติกรรมการลงทุน ทำให้ปฏิกิริยาในการตัดสินใจของนักลงทุนแต่ละคนแตกต่างกันคนละขั้ว ทั้งๆ ที่เรียนรู้มาจากตำราเล่มเดียวกัน

 เพราะฉะนั้น นักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จ...คุณต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์ เมื่อวานนี้..คุณอาจจะมองว่าหุ้นตัวนี้ดี  วันนี้..คุณอาจจะมองหุ้นตัวเดียวกันว่ามันไม่ดีแล้วก็ได้ อย่าคิดว่าคุณเป็นคนที่ไม่มีหลักการ

 "ในเมื่อสถานการณ์มันเปลี่ยน...วิธีคิดก็ต้องเปลี่ยน ทำไมคน 2 คน มาจากพื้นฐานเดียวกันทุกอย่าง คนหนึ่งเล่นหุ้นได้กำไร อีกคนหนึ่งเล่นหุ้นขาดทุน ก็เพราะทัศนคติของคน 2 คนนี้ แตกต่างกัน" เขาวิเคราะห์ให้ฟัง  

 แม้ว่าวิธีคิดของคนเรา "เปลี่ยนยาก" ก็จริง แต่เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ สำคัญที่สุดเราต้องยอมรับความผิดพลาดของตัวเราเอง..อย่าโทษใคร?

 เสี่ยยักษ์ย้ำว่า ประสบการณ์ที่ผิดพลาดจะเป็นบทเรียนสอนคุณเอง..ถ้าคุณยอมรับมัน และพร้อมที่จะแก้ไข คุณจะก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ามัวแต่นั่งโทษคนนั้นคนนี้ โทษไอ้นั่น โทษไอ้นี่ คุณจะไม่มีวันพัฒนาตัวเอง...

  "ผมมีประสบการณ์จริงเรื่องหนึ่งจะเล่าให้ฟัง มีลุงคนหนึ่งเล่นหุ้นอยู่โบรกเกอร์เดียวกับผม ลุงคนนี้มีอายุ 70 ปีแล้ว ในอดีตแกประสบความสำเร็จจากการดำเนินชีวิตอย่างมาก จนมีเงินมีทองหลายสิบล้านบาท

 ...เชื่อมั้ยว่าแกมาเล่นหุ้น เล่นไปเล่นมา เหลือพอร์ตอยู่ 3 ล้านบาท ไปเอาทุนมาเติมอีก ตอนนี้เหลือเงินอยู่ล้านกว่าบาท"

 "ผมเคยบอกแกว่า อาเจ็ก..เลิกเถอะ! อย่ามาเล่นอีกเลย อยู่บ้านเถอะ แกก็บอกว่า เออ!น่าไม่เป็นไร คือเขามีเงินหลายสิบล้านบาท เล่นไปเล่นมาเหลืออยู่ล้านกว่า แกก็ยังทู่ซี้เล่น นั่นคือแกไม่รู้จักพัฒนาตัวแกเอง

 ประวัติของลุงคนนี้แกเคยทำธุรกิจประสบความสำเร็จมาก่อน การจะตัดสินใจ Cut Loss ครั้งละ 5 ล้าน 10 ล้าน เขาจะไม่กล้า จะมีความรู้สึกว่าติดไว้ก่อนไม่เป็นไร วิธีคิดแบบนี้แสดงว่าแกไม่เป็นมืออาชีพ แต่แกมานั่งเล่นหุ้นเป็นอาชีพ วิธีการมันผิด"

 วิชัยบอกว่า หลักการที่ถูกต้อง เราต้องกำหนดจุด Stop Loss (จุดหยุดขาดทุน) พอขาดทุนถึงจุดนี้ ก็ต้อง Cut Loss ตัดขายทิ้ง 

 "หุ้นเวลาเป็น  "ขาลง" (Bearlish Down Trend) เราต้องตัดทิ้ง อย่าถือ และอย่าซื้อถัวเฉลี่ย"  วิชัย เปรียบเทียบคนที่ติดหุ้นไว้อย่างเจ็บปวดว่า เปรียบเสมือนคนที่เคยไปกินอาหารป่า ร้านที่เขามีเนื้อตะพาบน้ำขาย



 "ผมจะอธิบายลักษณะของคนที่ "ติดหุ้น" อย่างเจ็บแสบที่สุดให้ฟัง"

 สมมติว่าร้านอาหารป่ามีตะพาบน้ำไว้ขายลูกค้าอยู่ตัวหนึ่ง วันนี้ผมไปสั่งตะพาบน้ำผัดเผ็ด 1 จาน ตะพาบน้ำตัวนี้มันใหญ่ผัดทั้งตัวไม่หมด พ่อครัวก็จะเฉือนเอาเนื้อข้างๆ แต่ตะพาบตัวนั้นมันยังไม่ตาย มันก็ทุรนทุราย เอามาผัดให้เรากินจานหนึ่ง

 สภาพของตะพาบน้ำตัวนั้น มันหงายท้องนอนพะงาบๆ ลืมตาอยู่แต่มันยังไม่ตาย นี่คืออาการของคน "ติดหุ้น"  "นี่ผมพยายามจะเล่าให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด"



 วันที่ 2 ไม่มีคนมากิน ตะพาบก็พะงาบๆ อยู่อย่างนั้น เหมือนคนติดหุ้นที่รอวันตาย แต่มันไม่ตาย มันทุรนทุราย ชีวิตไม่มีความสุข เครียดไปหมด

 วันที่ 3 พอมีคนมาสั่งเนื้อตะพาบน้ำผัดเผ็ดอีก 1 จาน พ่อครัวคนเดิมก็เฉือนเนื้อของมันอีกข้างหนึ่ง มันก็ยังไม่ตายอีก แต่คราวนี้มันเจ็บเจียนตาย สภาพของคนติดหุ้นจะเป็นอย่างงั้นจริงๆ

 "ผมอยากจะให้กำลังใจว่า ตั้งแต่ผมเป็นนักลงทุนรายย่อย จนมาเป็นนักลงทุนรายใหญ่อย่างทุกวันนี้ได้ ผ่านมาหมด หลายๆ คนบอกว่าเป็นรายใหญ่ได้เปรียบ จริงๆ ไม่ใช่เลย รายย่อยต่างหากที่ได้เปรียบรายใหญ่

 ...คุณซื้อหุ้น 1 ครั้ง คุณได้หุ้นเต็มพอร์ต คุณขาย 1 ครั้ง คุณขายได้หมดพอร์ต    ถ้าเกิดเป็นรายใหญ่ เขาจะซื้อขายกันทีเป็น "ร้อยล้านหุ้น" ผมก็เคยมีหุ้นร้อยกว่าล้านหุ้น แล้วจะขายได้ยังไงหมด อย่างกรณีของหุ้นไออาร์พีซี (IRPC) มี Bid เสนอซื้ออยู่ 3 ช่อง ขายทีเดียว 3 ช่อง ยังไม่หมดเลย เพราะรวมกัน 3 ช่อง มี Bid แค่ 10 กว่าล้านหุ้น เพราะฉะนั้นนักลงทุนรายย่อยใครว่าเสียเปรียบ...ไม่จริงเลย"


INFO: www.bangkokbiznews.com

เสี่ยยักษ์ เซียนหุ้นพันล้าน

วิชัย วชิรพงศ์

ชีวิตในวัย55 ของ ‘เสี่ยยักษ์’ วิชัย วชิรพงศ์ เซียนหุ้นพันล้าน หลังผ่าน’จุดพีค’ในตลาดหุ้น เจ้าตัวเริ่ม Diversify ทรัพย์สินมุ่งสู่ความยั่งยืน

แม้อาชีพการเล่นหุ้นไม่มี “วัยเกษียณ” เหมือนข้าราชการ แต่ผู้กำศึกมาอย่างยาวนานจากทุนรอนในกระเป๋า 2 ล้านบาท ไต่ระดับความสูงสู่พอร์ตหุ้นหลัก “พันล้านบาท” ย่อมมีวัน “ล้า” แม้เขายังจากตลาดหุ้นที่เต็มไปด้วย “น้ำผึ้ง” และ “ยาพิษ” ไปไม่ได้ “เสี่ยยักษ์” วิชัย วชิรพงศ์ ค่อยๆ ลดพอร์ตตัวเองลงเหลือระดับ “ร้อยล้านบาท” และพยายาม Diversify ทรัพย์สินมุ่งสู่ความยั่งยืนระยะยาว นั่นคือการสะสมที่ดินและลงทุนอสังหาริมทรัพย์

ความเป็น “นักฆ่า” ของเรามันหมด สมัยก่อนพร้อมจะสู้พร้อมจะบุก เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปเยอะ จากนี้ไปผมคงจะถือหุ้นเท่าที่มีอยู่เพราะหุ้นมันไม่ได้ปรับตัวลงแรง ใครๆ ก็ “เสียว” พร้อมกับยอมรับว่า ตอนนี้หาหุ้นในดวงใจไม่ได้ หุ้นบางตัวขึ้นมา 100-200% จะให้ไปรักมันได้ยังไง มันผิดวิสัยการลงทุน

วันนี้มีทรัพย์สินสักกี่พันล้านแล้ว! คำถามที่กรุงเทพธุรกิจ BizWeek อยากรู้เหมือนกับใครหลายคน “เฮ้ย! ไม่เอา บอกไปเดี๋ยวอันตราย” ชายวัย 55 ปีที่วันนี้ดูฟิตเปรี๊ยะกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วมาก ร่างกายที่สูงใหญ่ของเขาดูแกร่งขึ้นเพราะลดอาหารจำพวก “แป้ง” ลง และหันมาว่ายน้ำฟิตร่างกายอย่างหนัก

“คนเราถ้าพยายามจะทำอะไร ถ้าถึงที่สุดแล้วจะเป็นอะไรก็ไม่เสียใจ” ที่จริงเสือเก่าเขียนแผนงาน (ไดอารี่) ประจำปีที่จะต้องทำให้สำเร็จภายในปี 2553 ต้องลดน้ำหนักให้ได้ 2 กิโล และเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนแต่ก็ดูจะ “พลาดเป้า” ผ่านมาแล้ว 3 ไตรมาสยังทำไม่ได้ทั้ง 2 อย่าง

ระหว่างที่บทความชิ้นนี้ออกเผยแพร่ เสี่ยยักษ์คงกำลังขี่ฮาร์เลย์ เดวิดสัน เที่ยว “แอลเอ” อย่างมีความสุข ขณะที่เจ้าตัวเผยความในใจว่า การที่ได้ควบฮาร์เลย์ใส่เสื้อหนังฝ่าเปลวแดดอันแสนร้อนระอุบนถนนซูเปอร์ ไฮเวย์ การถือหุ้น 500 ล้านบาทไว้ในพอร์ตยังไม่ตื่นเต้นเท่า

หลายเดือนมาแล้วที่เซียนหุ้นพัน ล้านหันมา “เห่อ” ควบเจ้าฮาร์เลย์ เดวิดสัน หนึ่งในความฝันที่แทรกแทนที่เฟอร์รารี่สีแดงคันงามราคาหลายสิบล้านที่จอด ทิ้งไว้เพราะกลัว “น้ำ” ช่วงหน้าฝน ตลาดหุ้นเริ่มกลายเป็น “งานอดิเรก” มากกว่าเป็น “อาชีพหลัก” สมัยก่อนที่จ้องหน้าจอเคาะหุ้นแบบเอาเป็นเอาตาย..วันนี้เขามีเวลาทำตามความฝันมากขึ้น

“บางวันเดินเข้าห้องน้ำเอาน้ำลูบหน้าตัวเอง มองกระจก วันนี้ (กู) ซื้อหุ้นอะไรไม่ได้สักตัว” พลังไฟของเซียนหุ้นพัน ล้านเริ่มสัมผัสกับสัญชาตญาณ “เสือแก่” นาทีนี้เจ้าตัวขอหลีกทางให้กับ “แวลูอินเวสเตอร์” ที่มาแรงแซงทางโค้งกำไรกัน 200-300% สำหรับปีนี้ยอมรับว่าตัวเองมองตลาด “ผิด” คิดว่าการเมืองคงไม่จบง่ายๆ ตอนนี้เล่นหุ้นน้อยลงเยอะ (มาก) เหลือประมาณ 1 ใน 3

เสือเก่าแห่งตลาดหุ้นค่อยๆ ถอด “เขี้ยวเล็บ” เริ่มเข้าสู่ “วัยชรา” ของวงจรตลาดหุ้นที่มีเซียนหุ้นรุ่นใหม่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน  เขายอมรับโดยดุษณีว่าคลื่นลูกใหม่ในวงการนี้กำลังมาแทนที่คลื่นลูกเก่า

“ผมมันเป็นพวกเซียนหุ้นรุ่นสุดท้ายแล้วล่ะ เว็บไซต์ PANTIP ก็ไม่เคยเข้า ประชุมผู้ถือหุ้นก็ไม่ไป คอมพานีวิสิท (ไปเยี่ยมชมกิจการ-สัมภาษณ์ผู้บริหาร) ก็ไม่ไป เล่นหุ้นอ่านหนังสือพิมพ์แค่วันละ 3 ฉบับ ที่ยังเหลืออยู่และเหนือกว่าคือประสบการณ์”

เขาบอกแม้ความเป็น “นักฆ่า” จะไม่เหมือนเดิม แต่สัญชาตญาณของ “เสือเก่า” ยังไม่หมด เมื่อไม่นานมานี้ช่วงชุลมุน 3จี เสี่ยยักษ์ใช้จิตวิทยาการลงทุนหยิบกำไรหุ้น ADVANC ไปเหนาะๆ 8 ล้านบาทจากการเล่น “สวนทางตลาด” และถือ N-PARK เพียง 2 วันกำไรไป 10 ล้านบาท

“ผมเล่นมันๆ มากกว่า หุ้น N-PARK วันนั้นอยู่ที่ 0.3 บาท หลานผมดูงบไตรมาส 2/2553 บอกว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 210 ล้านบาท ที่จริงไม่ได้เป็นกำไรจากการดำเนินงานแต่รับรู้กำไรจากการขายโรงแรมโนโวเท ลบีช รีสอร์ท พันวา ภูเก็ต เราก็คิดว่าเอ็นพาร์คมันขาดทุนมาตลอด ถ้าประกาศกำไรอย่างนี้ก็เล่นได้ ตอนนั้นมันมี Offer (เสนอขาย) ราคา 0.4 บาท อยู่ประมาณ 1,000 ล้านหุ้น ผมเคาะขวาซื้อ 500 ล้านหุ้น ใช้เงินไป 20 ล้านบาท ไปขายที่ 0.6 บาท เล่น 2 วันได้กำไร 10 ล้านบาท”

เสี่ยยักษ์ บอกว่า ความเป็นนักเลงเก่ายังมีอยู่ แต่สไตล์โบราณมากๆ ไม่มีทางจะไปสู้คนอื่นเขาได้ ทุกวันนี้เหลือเล่นแต่ตัวใหญ่ๆ ไม่กี่ตัว PTT, PTTEP, BANPU
“ผมว่าผมเป็นนักลงทุนรุ่นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ในตลาดหุ้น” เจ้าตัวยอมรับ

ช่วงที่ผ่านมาเสี่ยยักษ์ลบชื่อตัวเองออกจากพื้นที่ข่าว หลังมีชื่อย่อ “ย” เป็นผู้ปล่อยข่าวอัปมงคล เพื่อหวังผลประโยชน์จากการ “ทุบหุ้น-ปั่นหุ้น” เมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคม 2552

“ตอนนั้นผมโดนหนักถูกทำร้ายจิตใจมาก ผมไม่คุยกับใครเลย อยู่เงียบๆ เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ใหม่ ชีวิตผมมาถึงจุดนี้เราเกินพอแล้ว ไม่มีทางทำเรื่อง (เลวๆ) แบบนี้”

เมื่อไม่นานมานี้ ชื่อวิชัยโผล่ในนามนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หน้าใหม่ เป็นเจ้าของ บริษัท อัครวิชัย พัฒนา จำกัด พัฒนาที่ดิน 120 ไร่ บริเวณถนนบางนา-ตราด กม.19 อำเภอบางพลี ที่เขาซื้อไว้เมื่อปลายปี 2552 ทำธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้าให้เช่า รวมทั้งเป็นเจ้าของที่ดิน 56 ไร่ ติดชายทะเลระยอง ปัจจุบันซื้อเพิ่มเป็น 70 ไร่ มีแผนจะพัฒนาเป็น “บูติคโฮเต็ล” ในอนาคตอันใกล้ และยังเป็นเจ้าของที่ดินอีกกว่า 1,000 ไร่ ที่อำเภอแกลง เดิมเคยเป็นสนามกอล์ฟหินสวยน้ำใส ปัจจุบันแบ่งที่ดิน 500-600 ไร่ ปลูกต้นยางนา (ไม้เศรษฐกิจ) ทิ้งไว้ ในอนาคตมีแผนจะพัฒนาที่ดินที่เหลือเป็นสนามกอล์ฟด้วย

“ช่วงที่ผ่านมา ผม Diversify เอาเงินออกจากตลาดหุ้นมา เยอะเลย ซื้อที่ดินเก็บไว้ “ไม่เน่า-ไม่เสีย” แถมดูเหมือนจะเป็นการออมเงินประเภทเดียวที่เอาชนะ “เงินเฟ้อ” ได้ดี และถ้ากลับไปดูคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตติดอันดับ 1 ถึง 10 ทั้งในประเทศไทยและของโลกล้วนมาจากอสังหาริมทรัพย์แทบทั้งนั้น”

ปัจจุบันเจ้าตัวยอมรับว่า ทรัพย์สินส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินและลงทุนอสังหาริมทรัพย์มากกว่าในตลาดหุ้น “ถ้าผมเก่งจริงจากพอร์ตร้อยล้านก็กลับไปใหญ่เหมือนสมัยก่อนได้ แต่ถ้าผมกลับไปไม่ได้ข้างหลังผมก็ยังเหลือเยอะ”

หลักคิดของเซียนหุ้นราย นี้ในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์คือลงทุนเท่าที่มีกำลัง “ไม่คิดสร้างหนี้” เพราะหนี้ทำให้เกิด “ทุกข์” ถ้าคนเรารู้สึกว่า “พอแล้ว” จะไปหาความทุกข์มาเพิ่มอีกทำไม

“ที่ดินก็มีอยู่แล้ว กู้ก็ไม่กู้ ทำธุรกิจจะแพ้ได้ยังไง ผมถือคติไว้เลยว่าทำธุรกิจจะไม่เป็นหนี้จะไม่กู้ ถ้าไปทำคอนโดขายเป็นหนี้เขาชีวิตก็ต้องเป็นทุกข์อีก ชีวิตวันนี้มัน(เกิน)พอแล้ว ทำไมต้องไปสร้างหนี้ สไตล์ผมจะค่อยๆ เติบโตจะไม่เริ่มจากทำอะไรใหญ่ๆ”

วิชัยเล่าว่า ที่ดินบริเวณถนนบางนา-ตราด กม.19 มีอนาคตมาก ที่ดินผืนนี้ 120 ไร่ ซื้อมาด้วยต้นทุนที่ถูกมาก เพราะเป็นที่ดิน “ตาบอด” ไม่มีทางเข้าออก ที่ดินรอบข้างขายไร่ละ 7 ล้านบาท แต่มีคนมาเสนอขายให้ในราคาแค่ “ครึ่งเดียว” วิธีแก้ปัญหาก็คือไปร่วมทุนกับเจ้าของที่ดินด้านหน้าที่ติดถนนให้เขามาร่วมหุ้นด้วย

“เขาไม่มีเงินร่วมทุน ผมก็ให้ยืมคิดดอกเบี้ย 8% ต่อปี แล้วให้หุ้นบริษัท เขา 49% แต่เขาต้องมอบภาระจำยอมทางเข้าออกให้เรา เขาแฮปปี้มาก ราคาที่ดินตาบอด (120 ไร่) ก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ผมไม่เอาเปรียบคนอื่น ผมก็เลยโชคดีได้หุ้นส่วน ดี เขาจัดการให้เราหมด ไม่ต้องเหนื่อยติดต่อกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานท้องถิ่น ผมถามเพื่อน 10 คนบอกว่าคุณให้เขาเยอะไป ถ้าไม่มีที่ดินเข้าออกเราก็ทำอะไรไม่ได้ ผมคิดว่า “วิน-วิน” ทั้งสองฝ่าย”

ชีวิตวันนี้ “ผมมีอิสระ สบายใจ ภาระอะไรก็ไม่มี” ที่ดินระยองซื้อมาตั้งแต่ยังไม่ฮิต ขับรถไปตระเวนดูที่ดินติดทะเลอยากได้ที่ปราณบุรีไร่ละ 21 ล้านบาท ซื้อไม่ไหว มาได้ที่ดินริมทะเลระยองไร่ละ 3-4 ล้านบาท ผมเอาหลักการลงทุนในตลาดหุ้นมาใช้ในการซื้อที่ดิน คือซื้อเก็บไว้ตอน “ราคาถูก…ตอนยังไม่ฮิต” แล้วผมจะ “แพ้” ได้ยังไง

“ผมคิดว่าถ้าได้ดอกเบี้ยปีละ 4% ทบต้น เงิน 1 ล้านบาท 16 ปี เงิน 1 ล้านบาทจะเป็น 2 ล้านบาท ถ้าผมเอาเงิน 3 ล้านบาท ซื้อที่ดิน 1 ไร่ 16 ปี จะเป็นไร่ละ 6 ล้านบาทไม่ได้เหรอ ผมคิดง่ายๆ แบบคนไม่มีประสบการณ์แต่ใช้ชั้นเชิงนักลงทุน ตอนไปดูที่ดินที่ระยองไปกับเพื่อน 5 คน พอกลับมาทุกคนหนีผมหมด เลยต้องเอาคนเดียว”

เบื้องหลังการเป็นนักลงทุนที่ดินของเสี่ยยักษ์ เจ้าตัวเล่าแบบขำๆ ว่า จุดเริ่มต้นไม่ได้คิดเรื่องจะเป็นนักพัฒนาที่ดินอะไรเลย ชีวิตผมมีความฝันว่าอยากมีบ้านริมทะเลสักหลังก็เลยชวนเพื่อนไปดูว่าจะเอาตรง ไหนดี ไปดูที่พัทยาไร่ละ 30 ล้านบาทซื้อไม่ไหว ไปดูแถวหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ก็แตะไม่ลง ไปปราณบุรีไร่ละ 21 ล้านแพงไป ผมเลยต้องเลี้ยวรถกลับมาที่ระยอง ภาพลักษณ์มันไม่ค่อยดีทำคอนโดค้างไว้เยอะขายไม่ออก เป็นจังหวัด “ปราบเซียน” ราคาที่ดินก็เลยยังไม่แพง

“ที่ดินของผมอยู่ใกล้ๆ โรงแรมโนโวเทลระยอง อยู่ไปทางอำเภอแกลง พอผมซื้อเสร็จ โครงการภูผาธาราของตระกูลวิไลลักษณ์ มาขึ้นติดกับที่ดินของผมเลย ผ่านมา 3 ปีตอนนี้เขาขึ้นคอนโดแล้ว 3 แท่ง แถมในนั้นมีโรงแรมแมริออทอีก คิดดูว่าผมโชคดีขนาดไหนเลยซื้อเพิ่มติดกับที่เดิมในราคาไร่ละ 8 ล้าน ตอนนี้มีที่ดินติดทะเลระยองทั้งหมดประมาณ 70 ไร่ “ต้นทุนเฉลี่ยผมถูก” นี่คือหลักการเดียวกับการเล่นหุ้น ผมต้องขอบคุณคุณวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ที่มาลงทุนติดกับที่ดินของผม”

ตอนนี้ รีสอร์ท (บูติคโฮเต็ล) ที่ระยองกำลังอยู่ในขั้นตอนออกแบบ เฉพาะโครงสร้าง 200 ล้านบาท ส่วนที่ดินสนามกอล์ฟเก่า 1,000 ไร่ (ประมูลมาไร่ละประมาณ 2 แสนบาท) ปลูกยางนาต้นใหญ่ๆ ไว้ครึ่งหนึ่งต้องรอผลตอบแทน 15 ปี  “ผมคิดว่าถ้าคุณคิดสั้นๆ ก็ปลูกข้าว ปลูกอ้อย ถ้ามองยาวเก็บไว้เป็นมรดกก็ต้องปลูกไม้ยืนต้น”

เสี่ยยักษ์ บอกว่า การทำรีสอร์ทเป็นหนึ่งในความฝันที่อยากทำ จะไม่กู้ ไม่ทำใหญ่ หวังแค่ให้มันเลี้ยงตัวเองได้ก็พอใจ ตอนนี้ส่งลูกสาวไปเรียนการโรงแรมที่สวิตเซอร์แลนด์ไปได้ 7-8 เดือนแล้ว ลูกคนนี้จบปริญญาตรีวิศวกรรมเคมี จากจุฬาฯ แต่เขามีความฝันอยากมาบริหารรีสอร์ท “ทุกครั้งที่ผมโทรศัพท์หาลูก จะถามเขาเสมอว่าหนูยังมีความฝันอยู่มั้ยลูก เป้าหมายชีวิตหนูยังเหมือนเดิมมั้ย” คนเราต้องมีความฝันและตั้งใจแน่วแน่ ทำอะไรถึงจะสำเร็จ

ล่าสุดก็เพิ่งบินไปสหรัฐอเมริกาไปขี่ฮาร์เลย์เที่ยวกับเพื่อนคนไทยที่ไป ด้วยกัน 11-12 คน ปัจจุบันเสี่ยยักษ์มีฮาร์เลย์แล้ว 2 คัน ตระเวนเที่ยวต่างจังหวัดมาแล้วหลายทริปที่ระยอง หัวหิน เขาใหญ่ สุพรรณบุรี

“ผมมีฝันอยากมีรถสปอร์ต (เฟอร์รารี่) ก็มีแล้วแต่เพื่อนน้อย ขี่ฮาร์เลย์มีเพื่อนเยอะ เคยจะไปขับเครื่องบินแต่แฟนห้ามไม่ให้ไป ขี่ม้าก็อยากลองแต่ยังไม่มีโอกาส ส่วนตัวคิดว่าไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำตามความฝันได้มันต้องพร้อมก่อน หลานผมอายุ 27-28 แต่ไปตีกอล์ฟเสียเวลาทั้งวัน “มันไม่ใช่” คุณไปวิ่งสวนลุมดีกว่า ผมห่วงเด็กรุ่นใหม่ที่กระโดดเข้ามาตลาดหุ้นเพราะคิดว่ารวยเร็ว ผมว่าอันตราย คุณไปหางานทำรู้จักวิธีหาเงินก่อนดีกว่า”

เซียนหุ้นรายใหญ่ เล่าความในใจให้ฟังว่าเวลาจะไปขี่ฮาร์เลย์จะรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้ง อารมณ์มันช่างแตกต่างจากการตัดสินใจซื้อขายหุ้นเป็นร้อยๆ ล้านบาท มันไม่ตื่นเต้นอะไรเลย

“บ้านชายทะเลที่ระยองของผมรับแขกฮาร์เลย์หลายทริปแล้วนะ พอไปถึงก็เอาเรือเร็ว (สปีดโบต) ออกไปกินข้าวกลางวันที่เกาะเสม็ด แล้วไปนอนเล่นกันที่เกาะทะลุ 3-4 โมงเย็นก็กลับ ส่วนเฟอร์รารี่ขับน้อยช่วงนี้หน้าฝนน้ำเข้าเครื่องแล้วยุ่ง เห็นมั้ยว่าเหรียญ (ทุกอย่าง) มันมีสองด้านเสมอ”

ชีวิตในวัย 55 ปีวันนี้ของเสี่ยยักษ์ จึงไม่ต่างไปจาก “ชีวิตเกษียณ” ของเซียนหุ้น เจ้าตัวกำลังไล่ล่า “ความฝัน” ที่ขาดหาย และ Diversify ความมั่งคั่งสู่ความยั่งยืน

สัปดาห์หน้าติดตามวิธีคิดการลงทุนในตลาดหุ้นที่เปลี่ยนไปของ “เซียนหุ้นพันล้าน” ที่เจ้าตัวต้องนำมาขบคิดทบทวนตัวเอง

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Bid-Offer-Volume กลเกมส์ของรายใหญ่



ช่วงนี้ มีลูกค้าและสมาชิก ถามกันเข้ามามาก เรื่องการดู bid ดู offer ก่อนที่จะตัดสินใจเคาะซื้อขวา หรือ เคาะขายซ้าย

ความจริง เคยลงบทความเรื่องนี้ไว้แล้วครั้งนึง เมื่อวันที่ 21 กค. 07 แต่ใช้ชื่อบทความว่า การซ่อนออร์เดอร์ ...... วันนี้ ตั้งชื่อใหม่ก็ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องที่ท่านถามกันเข้ามามาก และเพื่อให้สะดวกในการค้นหา

อ่ะ ขี้เกียจเขียน copy ของเก่า มาให้ดูเลยคร๊าบ

โลกยุคอินเตอร์เน็ต ทำให้ทุกวันนี้ ทุกท่านมีข้อมูลการลงทุน ทั้งทางด้านปัจจัยพื้นฐาน และ ทางด้านการวิเคราะห์กราฟ เกือบจะเสมอภาคเท่าเทียมกัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ รายใหญ่ จึงต้องใช้จิตวิทยามวลชน เข้ามากดดัน ให้รายย่อยพลาดพลั้ง ทำการซื้อหรือขาย ตามที่เขาต้องการ ด้วยวิธีการต่างๆนานา

ด้วยเหตุนี้ กลยุทธ์ในการรับมือกับรายใหญ่ จึงเป็นสิ่งที่จะแยกรายย่อยผู้ชนะ ให้โดดเด่นขึ้นมา ท่ามกลางมวลชน

ซื้อแล้วลง ขายแล้วขึ้น เป็นเรื่องปกติที่ผิดพลาดกันได้ครับ แต่ความผิดพลาดนั้น สามารถทำให้ลดน้อยลงไปได้ ด้วยความช่างสังเกต และรู้จักการซื้อตามเมื่อหุ้นนั้นผ่านแนวต้านไปได้ด้วย volume outperform แน่นอนล่ะ บางทีก็ต้องซื้อที่ราคาแพงกว่าที่ขายไป ….. ก็มันผ่านแนวต้านมาได้ อย่างมั่นคงแล้วนี่ครับ กว่าจะไปชนแนวต้านถัดไปก็อีกยาวไกล

ในการจะกวาดซื้อหุ้นมันต้องใช้เงิน ถ้าตลอดทางของการไล่ซื้อหุ้นขึ้นไป รายใหญ่โดนพวก net settlement พวกตีหัวเข้าบ้าน พวกจับเสือมือเปล่า หรือ พวกที่มีต้นทุนต่ำ ขายใส่ตลอดทาง มันจะทำให้เงินหมดซะก่อน อย่างนี้ จึงต้องไล่แขกออกไปให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรค ในการวิ่ง

การไล่แขก และ การตั้งซ่อนออร์เดอร์ เพื่อหลอกซื้อของจากแขก มักจะใช้ในช่วงที่ราคาอยู่ที่แนวรับ จะหลุดแหล่ไม่หลุดแหล่พอดี ซึ่งตรงจุดนี้ ผู้ที่มีต้นทุนต่ำ มักจะยอมขายทิ้งลงมา ก่อนที่ราคาจะหลุดแนวรับลงไป หรือไม่ก็มักจะใช้ในช่วงที่ราคาหุ้นอยู่ที่แนวต้านพอดี ให้เราลุ้นเล่นว่าจะ breakout ผ่านขึ้นไปได้หรือไม่ พอเราเห็นว่า มันคงไปไม่ไหวแล้ว เราก็จะขายลงมา ให้เขาที่จ่อๆ รอซื้ออยู่แล้ว จากนั้นไม่นาน เขาก็จะลากผ่านแนวต้านขึ้นไป อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ใครกล้าตาม

แหม ชักแม่น้ำทั้งห้า ฮวงโห แยงซี มิซซิปซิปปี้ เจ้าพระยา และ แม่น้ำไนล์ตั้งนาน กว่าจะเข้าเรื่องได้ …… ไปเลยแล้วกัน การเล่นจิตวิทยามวลชน ด้วยวิธี Partial Publish ซึ่งใช้กันแพร่หลายทั้งในหุ้น Large Cap. & หุ้น Small Cap.

หากรายใหญ่ต้องการให้มวลชนขายลงมา เขาก็จะขนหุ้นมาวางขายที่ฝั่ง offer หนาๆ แล้วตั้ง bid น้อยๆให้เราหวาดเสียวเล่น หรือไม่ก็ใช้ กลวิธี “ทุบให้อ๊วก” ตามแต่ความซาดิสต์ที่มีในจิตใจ หารู้ไม่ ว่านั่นบาปกรรม

แต่เมื่อราคาไหลหรือดิ่งลงไป ณ ใกล้แนวรับแล้ว และในหลายกรณี เลือกที่จะเล่นสงครามจิตวิทยากันที่แนวต้านซะด้วย เพื่อให้คนถอดใจ ขายของลงมา …………. โดยเฉพาะเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 20 ก.ค. เห็นหลายตัวเลย ที่เล่นกันที่แนวต้าน …… รายใหญ่เหล่านั้นก็จะสั่งตั้งซื้อแบบซ่อนออร์เดอร์ ที่ฝั่ง bid ด้วยการตั้งซื้อหุ้นจำนวนมาก แต่ใช้คำสั่ง partial publish ทีละน้อยๆ เช่น สั่ง bid ซื้อหุ้นช่องละ 1 ล้านหุ้น แต่ให้เห็นทีละ 40,000 หุ้น

แหม พอเราเห็นฝั่ง offer หนาๆ ขนาดหลายล้านหุ้นขวางอยู่ ขณะที่ bid เหลือแค่ 40,000 หุ้น เราก็รีบขายซิครับ ก่อนที่ราคานั้นจะมีคนชิงขายลงมาก่อน แต่มันก็น่าแปลก พอเราขายลงมา 40,000 หุ้น มันก็โผล่ขึ้นมาอัตโนมัติที่ฝั่ง bid อีก 40,000 หุ้น พอเราขายอีก 40,000 หุ้น มันก็โผล่เข้ามาอีก 40,000 หุ้น พอเราขายอีก 80,000 หุ้น มันก็โผล่เข้ามาอีก 40,000 หุ้น 2 ครั้ง ติดกัน พอเราหยุดขาย มันก็ยังคงรอเราที่ฝั่ง bid อีก 40,000 หุ้น แบบไม่สะทกสะท้านแรงขาย

คำถามคือ หากเป็นท่านเอง ท่านต้องการจะขายหุ้น 2-3 ล้านหุ้น ท่านจะเอามาวางโชว์ที่ฝั่ง offer ไหมครับ ถ้าท่านแสดงให้คนอื่นเห็นว่าท่านอยากขาย 2-3 ล้านหุ้น แล้วใครจะไปเคาะซื้อล่ะครับ

และ ใครกันหนอ จะรับซื้อที่ฝั่ง bid ได้ไม่อั้นขนาดนั้น ใครขายมาเท่าไหร่ รับซื้อหมดเลย แสดงว่า คนที่รับซื้อไม่อั้นคนนั้น เขาต้องมั่นใจสูงเลย ใช่ไหมครับว่าราคาจะวิ่งแน่ เพราะถ้าเป็นคนปกติ เขาไม่ซื้อหรอก ถ้าแรงขายยังขายทิ้งลงมาเรื่อยๆแบบนี้ …… สรุป คนนั้นผิดปกติ หรือไม่ก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้กำหนดราคา

ถ้าท่านเห็นแบบนี้ ต้องหยุดขาย หรือ หาจังหวะซื้อคืนแล้วนะครับ พลาดแล้วล่ะ เขากำลังตั้งโต๊ะซื้อของอยู่ และเมื่อไม่มีใครขายลงมาให้แล้ว อีกไม่นาน เขาจะกวาดรวบขึ้นไป อย่างรวดเร็ว……. ต้องซื้อคืนแล้วครับ ยิ่งผ่านแนวต้านไปได้ ยิ่งต้องซื้อตามเลย เพราะมันกำลังจะวิ่งไป ที่แนวต้านถัดไปอย่างรวดเร็ว

พอวิธีนี้ เริ่มมีคนสังเกตเห็น รายใหญ่เลยพัฒนาวิธีใหม่ ด้วยการ ย้าย partial publish มาที่ฝั่ง offer ซะงั้น พร้อมๆกับ ทยอยตั้งรับ ที่ฝั่ง bid ด้วย จากนั้น ก็เคาะซื้อของตัวเองไปเรื่อยๆ ที่ฝั่ง offer เพื่อให้ใครๆเห็นว่า นี่เป็น partial publish นะ มีออร์เดอร์ซ่อนขายที่ฝั่ง offer นะ น่ากลัวนะ กลัวอ่ะปล่าว

พอเขาเคาะซื้อที่เขาตั้ง offer ไว้เองที่อีกโบรกเกอร์หนึ่ง จำนวน 100,000 หุ้น โห partial publish ไหลมาให้เห็น 20 รายการๆละ 5,000 หุ้น เลยแหะ อีกสักพัก เขาก็เคาะซื้ออีก 200,000 หุ้น partial publish ก็จะโชว์ให้เห็นมา 40 รายการๆละ 5,000 หุ้น …….. เหมือนๆจะขู่เราว่า ว่าไง ว่าไง กลัวไหม มีออร์เดอร์ซ่อนขายอยู่นะ

พอเราเห็นว่า เคาะซื้อฝั่ง offer เท่าไหร่ก็ไม่หมดซะที แถมซ่อนออร์เดอร์ ซะด้วย ด้วยความรู้เท่าทัน เราก็จะขายโครมลงมาที่ฝั่ง bid แป่ววววว ……. แหะๆๆ เสร็จเขาเลยล่ะครับ เขาได้ของไปแล้ว ………. พอฝั่ง bid จะหมด เขาก็เติม bid อีก ขายมาเท่าไหร่ ฝั่ง bid ก็ไม่หมดซะที ไอ้ที่เราขายไปแล้ว นั่งรอทั้งวัน ยังไม่ได้ซื้อคืนเลย

คำถามคือ หากเป็นท่านเอง ท่านต้องการจะซื้อหุ้นจำนวนมาก ท่านเห็นว่า ฝั่ง offer หนาขนาดนั้น เคาะไม่ผ่านสักที ท่านจำเป็นจะต้องรีบตั้ง bid จ่อซื้อประชิดตัวซะขนาดนี้ไหมครับ ทำไมฝั่ง offer ไม่ผ่าน แต่ฝั่ง bid ก็ไม่หลุดล่ะ ถ้าไม่มีคนตั้งโต๊ะรอซื้อไม่อั้นที่ฝั่ง bid?

ถ้าเราหมั่นสังเกต จนตามกลิ่นเงินเจอ การเกาะเงินของเขาขึ้นไป ขอส่วนแบ่งกำไรด้วย ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ….. รถเมลล์ที่กำลังจะออกจากอู่ ไม่ค่อยจะมีที่นั่งว่างให้เราครับ เราต้องยืน เครื่องร้อนแล้ว รถกำลังจะวิ่งแล้ว ส่วนรถเมลล์อีกหลายคันที่อู่ ที่มีที่นั่งเพียบเลย แต่ไม่ยักกะไปซะที ก่อนโชเฟอร์จะลงจากรถ ยังบอกเราซะด้วยว่า คิวของผม อีก 6 ชั่วโมงครับ เดี๋ยวผมขอตัวไปนอนก่อนนะ

ถ้าให้เลือก ท่านจะเลือกอะไรครับ ระหว่างทำธุรกิจขายโทรศัพท์มือถือ กับ ขายวิทยุติดตามตัว …… ตามกลิ่นเงินเจอ แพงแค่ไหนก็ขายได้ครับ

Source: ThaiDayTrade date 23/03/2008

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ วิเคราะห์หุ้น รวย! จากบการเงิน

 
ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ วิเคราะห์หุ้น รวย! จากบการเงิน


ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ วัย 44 ปี เป็นที่ร่ำลือว่ามีความสามารถในการ "ถอดงบการเงิน" เป็นเลิศ เขามีข้อได้เปรียบตรงที่ว่าเคยผ่านงานธนาคารต้องวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้าว่ามีกำลังผ่อนชำระคืนแบงก์ได้หรือไม่ เขานำประสบการณ์ตรงนั้นบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนมาวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ความสามารถนี้เองที่ทำให้เขาสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นได้อย่างงดงาม

เขาเล่าว่า หลังจากค้นพบแนวทางของตัวเอง การเล่นหุ้นก็เริ่มได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ในอดีตเคยมีประสบการณ์ "ถือหุ้นตัวเดียว" นานถึง 8 ปี คือ หุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) โดยใช้ซื้อภรรยา (มยุรี วงแก้วเจริญ) ซื้อตอนปี 2544 เหตุผลที่ชอบหุ้นตัวนี้ เพราะมีกระแสเงินสดดี ซื้อหุ้น WG มาในราคา 13-14 บาท ขายไปตอนราคา 60 บาท (ปัจจุบันราคา 81-82 บาท) เพื่อไปซื้อหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าดีกว่า เฉพาะเงินปันผลอย่างเดียวก็ "คืนทุน" หมดแล้ว ปีแรกๆ ซื้อราคา 13 บาท ปันผล 1 บาท ซึ่งปันผลของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จนปีหลังๆ จ่ายปันผลสูงถึงหุ้นละ 4 บาท

นอกจากกระแสเงินสดดีแล้วหุ้นตัวนี้ผลประกอบการเติบโตสม่ำเสมอ เนื่องจากไว้ท์กรุ๊ปมีสูตรเคมีภัณฑ์เฉพาะเป็นของตัวเอง ลูกค้าอยากได้แบบไหนบริษัททำได้หมด ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่สำคัญสมัยก่อนบริษัทนี้ ยังมีธุรกิจอื่นเสริมโดยเฉพาะธุรกิจโกดังให้ลูกค้าเช่าเป็นคลังสินค้า และมีสำนักงานให้เช่าแถวเอกมัย ทำให้เขามีกระแสเงินสด และมีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น เพราะตึกมันลงทุนไปแล้วสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจทั้งหมดทำให้ไว้ท์กรุ๊ป มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงที่เก็บหุ้น WG บริษัทนี้ยังไม่มีใครรู้จัก

ความแตกต่างจากเซียนหุ้นทั่วไป ฉัตรชัยจะทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นที่เขามั่นใจเพียงไม่กี่ตัว เรียกว่า "จัดเต็ม" แบบไม่กลัวเสี่ยง..ถ้าเขามั่นใจ ปัจจุบันเขาถือหุ้นเพียงแค่ 2 ตัว โดยหุ้นตัวแรกถือ 90% ของพอร์ต อีกตัวถือ 10% ของพอร์ต

"ผมลงทุนไม่เหมือนคนอื่นเป็นคนซื้อหุ้นยากมาก ในรอบ 10 กว่าปีมานี้ถือหุ้นไม่กี่ตัว คนอื่นเขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ผมจะถือหุ้นไปจนกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ในอดีตเคยถือหุ้นมากที่สุดแค่ 4 หุ้น ผมมันพวก “สเปกเยอะ” ถ้ามั่นใจตัวไหนผม “จัดเต็ม” อย่างตอนนี้มีหุ้นอยู่ในมือแค่ 2 ตัว ใครเป็นมาร์เก็ตติ้งผมไม่ค่อยได้ค่าคอมมิชชั่นเท่าไร"

แม้ฉัตรชัยจะไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อหุ้นที่ซื้อ แต่จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบชื่อ มยุรี วงแก้วเจริญ ภรรยาของ ฉัตรชัย ถือหุ้น ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) 6,801,000 หุ้น สัดส่วน 2.52% และหุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) จำนวน 500,000 หุ้น สัดส่วน 1.86% ปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 130 ล้านบาท

ทำไม! ถึงซื้อหุ้น 2 ตัวนี้ เซียนหุ้นร้อยล้าน บอกเพียงว่า ตัวที่โฟกัส 90% ของพอร์ตอยู่กลุ่ม Commerce บริษัทไม่มีคู่แข่ง ทำธุรกิจสบายๆ ผู้บริหารเก่ง (บุญยง ตันสกุล) ถือหุ้นตัวนี้มานาน 2-3 ปีแล้ว ตอนนี้เขาโตเร็วมาก และยังมีช่องจะเติบโตเพื่อกินมาร์เก็ตแชร์เจ้าอื่นด้วย สมัยก่อนบริษัทนี้เคยผิดพลาดทำให้เขาล้ม ตอนนี้กำลังจะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง จากการวิเคราะห์งบการเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า มั่นใจว่าบริษัทนี้จะขยายตัวสม่ำเสมอทุกปี

ส่วนหุ้นอีกตัวที่โฟกัส 10% อยู่ในกลุ่มโรงแรม ถือหุ้นมาแล้ว 2 ปี หุ้นตัวนี้ไม่ได้เข้าข่ายกลยุทธ์ไม่มีคู่แข่ง หรืองบการเงินดีเท่าไร จริงๆ ไม่ค่อยอยากจะพูดเท่าไร ตอนที่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะเห็นว่าบริษัทสามารถต่อสัญญาเช่าที่ดินแถวสามย่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงแรมกับเจ้าของที่ดินได้ เห็นว่าทำเลค่อนข้างดีก็เลยซื้อหุ้นเก็บไว้ ช่วงนั้นคิดว่าจะถือไว้สัก 3 ปี น่าจะได้กำไร ปัจจุบันบริษัทนี้มีโรงแรมในกรุงเทพ 1 แห่ง และที่เขาใหญ่ 1 แห่ง

“ผมเชื่อว่าหุ้น 2 ตัวนี้ (SINGER, MANRIN) จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แม้วันนี้หุ้นตัวหนึ่งจะปันผลน้อยเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ เขาต้องนำเงินไปลงทุนขยายกิจการหลังจากเพิ่งฟื้นตัว ส่วนอีกตัววันนี้ยังไม่มีเงินปันผล แต่ระยะยาวน่าจะดี..ผมอดทนรอได้”

เซียนหุ้นวีไอวัย 44 ปี กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้ อยู่ตรงที่ส่วนใหญ่ “แพงมาก" แล้ว ซึ่งตนเองชอบซื้อหุ้นตอนราคาต่ำกว่าพื้นฐาน 50% ปัจจุบันหาได้ยาก หุ้นค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล ไม่สนใจแม้ธุรกิจจะดีแต่ราคาก็แพง ถ้าวันหนึ่งราคาลงมาอาจจะซื้อ การลงทุนแบบวีไอสำคัญที่ต้องประเมินมูลค่าหุ้นให้เป็น ก็เหมือนการซื้อรถยนต์ ถึงรถจะดีแต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็ไม่ซื้อ "ของดี" อาจไม่ใช่ของที่ "ดีที่สุด" ก็ได้

ส่วนพวกหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ เขายอมรับว่า "ไม่ชำนาญ" วงจรธุรกิจสวิงมากเหมาะกับการ "เก็งกำไร" มากกว่าโอกาสพลาดมีสูง ส่วนหุ้น IPO ไม่ชอบเลย ฐานข้อมูลต่างๆ ยังน้อย ชอบหุ้นที่เห็นกันมานาน 5-10 ปีดีกว่า ปัจจุบันฉัตรชัย จะลงทุนผ่าน บล.เคที ซีมิโก้ และ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เขาชอบแชร์ข้อมูลดีๆ ผ่านเว็บไซต์และชวนกันไปฟังข้อมูลจากผู้บริหาร

ถามว่าการลงทุนตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร..? เขากล่าวว่า บอกตรงๆ ไม่เคยคิดเลย ตอนเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกมีคนเคยบอกว่า คนเล่นหุ้น 10 คน เจ๊ง 8 คน เสมอ 1 คน ได้กำไร 1 คน ส่วนตัวขอเป็น 2 ใน 10 คนที่ไม่เจ๊งก็พอ ทุกวันนี้ยึดอาชีพนักลงทุนอย่างเดียว ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีลูกสาว 2 คน หลายคนอยากออกมาทำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง การลงทุนในหุ้นก็เป็นเจ้าของกิจการได้เหมือนกัน แถมมีข้อดีมากกว่าด้วยเพราะถ้ากิจการไม่ดีเราสามารถขายหุ้นไปลงทุนกิจการใหม่ได้

ฉัตรชัย บอกว่า รู้สึกตะขิดตะขวงใจทุกครั้งเวลาฟังรายการวิทยุมีนักลงทุนโทรไปถามนักวิเคราะห์ว่าติดหุ้นตัวนี้ควรซื้อหรือขายดี นักวิเคราะห์ก็จะถามกลับว่าต้นทุนเท่าไร อยากถามว่าต้นทุนมันเกี่ยวอะไรกัน เราซื้อหุ้นต้องดูที่อนาคตไม่ใช่ต้นทุน สมมติติดหุ้นราคา 20 บาท ราคาตลาด 15 บาท แต่หุ้นมีโอกาสวิ่งไป 30 บาท ฉะนั้นคำแนะนำแบบนั้นมันใช้ได้มั้ย!

เขาบอกว่า เท่าที่สัมผัสนักลงทุนส่วนมากชอบ "สูตรสำเร็จ" การลงทุนไม่มีสูตรสำเร็จ และสูตรสำเร็จของแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ก็ไม่เหมือนกัน อยากจะเล่าให้ฟังสมัยก่อนตอนเกิดวิกฤติแบล็คมันเดย์ คนที่ทน "ถือหุ้น" หรือ "ซื้อเพิ่ม" เขาได้กำไรกันถ้วนหน้า เพราะหุ้นตกไม่นานก็ขึ้น พอมาวิกฤติปี 2540 คนก็ยังคิดว่าตลาดหุ้นจะเป็นแบบนั้นอีก ก็พากันแห่ไปไล่ซื้อ สุดท้ายหุ้นตกจาก 1,700 จุด ตกเหลือ 200 จุด

"สุดท้ายเจ๊งกันหมด บางบริษัทปิดตัวไปเลย ฉะนั้นคุณต้องรู้จักประเมินมูลค่าธุรกิจ และวิเคราะห์สถานการณ์ให้ออก การลงทุนมันไม่สูตรสำเร็จว่าถ้าเกิดวิกฤตแล้วต้องซื้อหุ้นเท่านั้น ขายเท่านี้..มันไม่มี"

เซียนหุ้นวีไอร้อยล้าน กล่าวปิดท้ายว่า กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นให้ซื้อหุ้นตอนวิกฤติ เพราะจะได้ของถูก คนพูดแบบนี้แปลว่าประสบการณ์เขายังน้อยคงยังไม่เคยโดนวิกฤติตอนปี 2540 (หัวเราะ) ถ้าผ่านมาแล้วจะไม่พูดแบบนี้ ส่วนตัวไม่เคยขายหุ้นตอนวิกฤติ หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นพื้นฐานดีจริงๆ วันหนึ่งมันต้องกลับมา

'กำไรสุทธิ' สำคัญน้อยกว่า 'กระแสเงินสด'ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ "ร้อยล้าน" จะให้น้ำหนักการวิเคราะห์ลักษณะกิจการที่น่าลงทุนโดยพิจารณา 3 ส่วนหลักๆ คือ หนึ่ง..กระแสเงินสดของกิจการ บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติเติบโตสม่ำเสมอ ไม่ใช่กระแสเงินสดจากรายการพิเศษที่รับครั้งเดียว สอง..อัตราการจ่ายเงินปันผล ต้องสมเหตุสมผล สาม..คุณภาพสินทรัพย์ "ต้องดี" ส่วนพวกค่า P/E ยิ่งต่ำๆ ยิ่งดี แต่ไม่ได้ยึดติดเท่าไร ส่วนค่า P/BV ไม่ได้ดูเลย

สำหรับวิธีการดูงบการเงินอย่างย่อ ขั้นตอนแรก..เราจะต้องอ่าน "งบดุล" ของบริษัทนั้นก่อน ในงบดุลจะแสดง "สินทรัพย์" และ "หนี้สิน" สิ่งที่จะต้องไล่ดูคือ บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร สินทรัพย์สำคัญของบริษัทนั้นคืออะไรและมันสอดคล้องกับการทำธุรกิจนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่าง บางบริษัทมีเงินลงทุนในพอร์ตหุ้นจำนวนมากถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่ใช่หุ้นที่ดี เราต้องมองโครงสร้างธุรกิจให้ขาด

จากนั้นก็ดู "คุณภาพสินทรัพย์แต่ละรายการ" ว่ามีมูลค่าตามที่บันทึกในบัญชีหรือไม่ เพราะบางครั้งมีการแต่งตัวเลขได้ ให้ดูลูกหนี้การค้า "ผิดนัดชำระ" เยอะมั้ย! แล้วมีการ "ตั้งสำรอง" เพียงพอหรือไม่ จากนั้นก็มาดูว่าบริษัทดังกล่าวมีหนี้สินเทียบกับทุนจดทะเบียนเยอะขนาดไหน เมื่อตรวจสอบครบแล้วเราก็เอางบดุล 3 ปี มาเปรียบเทียบกันจะทำให้เรารู้ว่าที่ผ่านมางบการเงินของเขาเป็นอย่างไร

ขั้นตอนต่อไปให้ดู “งบกำไรขาดทุน” ให้เน้นที่ “กำไรขั้นต้น” บริษัทที่ดีควรมีกำไรขั้นต้นอยู่ในระดับสูงทั้งในปัจจุบัน และอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า จากนั้นจะดูว่าบริษัทมี "อัตรากำไรสุทธิ" เท่าไร ถ้าตัวเลขอยู่สูงๆ จะดีมาก เพราะจะบ่งบอกได้ว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างดี ไม่ใช่มาร์จิ้นบางเฉียบแค่ 1% หรือครึ่งเปอร์เซ็นต์ แบบนี้ไม่เอาปล่อยผ่านไป

"ผมชอบบริษัทที่มีกำไรขั้นต้นประมาณ 20% มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ที่สำคัญบริษัทนั้นต้องมีต้นทุนขายลดลงหรือเสมอตัว ไม่เพิ่มเติมไปกว่าเดิม หากจะมีต้องมีเหตุผลที่สนับสนุนและต้องไม่ผันผวน"

ฉัตรชัย บอกว่า ส่วนตัวไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ "กำไรสุทธิ" มากเท่าไร เคยมีคำพูดประโยคหนึ่ง “Profit is opinion cash is real” กำไรเป็นเพียงความคิดเห็น กระแสเงินสดคือของจริง เพราะในงบกำไรขาดทุนบางอย่างมันขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางบัญชี โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาการตัดค่าเสื่อมราคา ซึ่งมันสามารถทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ทั้งๆ ที่เราค้าขายเหมือนเดิม

เขาเล่าต่อว่า ขั้นตอนสุดท้าย จะดู “งบกระแสเงินสด” เพราะมันจะบ่งบอกถึง "วงจรธุรกิจ" บางบริษัทมีกำไรดีแต่ไม่มีเงินให้ผู้ถือหุ้นเลย ได้เงินมาเท่าไรต้องนำไปซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ หรือลงทุนตลอดเวลา บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดเติบโตทุกปีเฉลี่ย 10-15% กระแสเงินสดจะบอกอะไรได้เยอะมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเงินเข้ามาจากการขายของ หรือไปกู้แบงก์หรือได้มากจากรายการพิเศษ

งบกระแสเงินสด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. จากการดำเนินงาน เงินรับเข้าและจ่ายออก 2. การลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักร ขายที่ดิน ขายเครื่องจักร ฯลฯ 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน เช่น เพิ่มทุน กู้ยืมเงิน จ่ายเงินกู้ ซึ่งเงินสดจากการดำเนินงานสำคัญที่สุด เพราะมันจะบ่งบอกว่าบริษัทดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดเหลือหรือไม่

สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนไม่ควรลืมดู นั่นคือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะจะบ่งบอกว่าวิธีการตั้งบัญชีมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง การรับรู้รายได้ขั้นตอนไหนถึงเรียกว่าเป็นรายได้ บางบริษัทบอกว่า “ฉันจะมีรายได้ตั้งแต่เอาหนังสือไปตั้งขาย แต่บางบริษัทบอกไม่ใช่ฉันจะมีรายได้เมื่อขายหนังสือได้แล้ว”

เขาระบายความในใจสั้นๆ ว่า นักลงทุนสมัยนี้เข้ามาลงทุนแล้วอยาก “รวยเร็ว” อยากได้สูตรสำเร็จให้คนเก่งช่วยกรองให้ว่า หุ้นที่ดีต้องมีค่า P/E เท่าไร ผลตอบแทนต้องเท่าไร ถ้าบริษัทไหนเข้าหลักเกณฑ์ฉันจะซื้อเลย ในความเป็นจริง “มันไม่ใช่” ถามว่าคุณเข้าใจหรือไม่ว่า การคำนวณราคาหุ้นด้วยค่า P/E คืออะไร..ผมเชื่อเลย “ไม่เข้าใจ”

สมมติหุ้นตัวนี้มีค่า P/E 10 เท่า หมายความว่า กำไร 1 บาท ราคาหุ้น 10 บาท นั่นแปลว่า ซื้อหุ้นแล้วอีก 10 ปีคืนทุน ตกกำไรปีละ 1 บาท แต่บางธุรกิจกำไรมันผันผวนจะให้มีกำไร 1 บาททุกปี มันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นการใช้ค่า P/E คำนวณราคาหุ้นต้องใช้กับบริษัทที่เติบโตสม่ำเสมอ จริงอยู่การเล่นหุ้นด้วยการดูค่า P/E มันใช้ง่าย เพราะมันโชว์อยู่ในหนังสือพิมพ์ทุกวัน แต่มันไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่อย่างนั้นนักลงทุนคงกำไรกันทั้งโลก

"ผมอยากให้นักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดให้ลึก บางคนถามว่าบริษัทที่ดีควรมีอัตราหนิ้สินต่อทุนเท่าไร มันก็ไม่มีสูตรเหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร แต่ถ้าเป็นบริษัททำธุรกิจปกติทั่วไปหนี้สินต่อทุนควรอยู่ระดับ 2 ต่อ 1 ไม่ควรมากกว่านี้"


INFO: กรุงเทพธุรกิจ

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หุ้นเกร็งกำไร : BLAND

BLAND พุ่งสวนตลาดฯ หลังฮุบหุ้นอิมแพ็คเต็ม 100% โบรกฯ ชี้เทคนิคฟื้นตัว 
แนะเก็งกำไรให้ต้าน 1.30 บาท

BTS (บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6


  BTS  (บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6

ประเด็นการลงทุน : คาด 2Q55/56 BTS รายงานกำไรปกติ 339 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% QoQ และ 24% YoY ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 ผลักจาก 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจให้บริการเดินรถไฟฟ้า และธุรกิจโฆษณาที่มีแนวโน้มว่ารายได้จะสูงทำสถิติใหม่ได้ทั้งคู่ เรามองว่าด้วยโมเมนตัมกำไรปกติที่ดี, โอกาสของเงินปันผลระหว่างกาล และแนวโน้มบวกในระยะยาว จะเป็นจูงใจให้ผู้ใช้สิทธิฯถือหุ้น BTS เพื่อลงทุนในระยะยาวต่อไป และไม่เกิดแรงขายทำกำไรในกระดานมากนัก ดังนั้นการอ่อนตัวของราคาหุ้นเป็นโอกาสในการสะสมลงทุนระยะยาว เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 7.00 บาท
รายได้จากธุรกิจรถไฟฟ้ามีแนวโน้มทำสถิติใหม่ : คาด 2Q55/56 (ก.ค.-ก.ย.) รายได้จากหน่วยงานนี้ (ค่าตั๋วโดยสาร และสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย) จะสูงสุดทำสถิติใหม่ที่ 1.47 พันล้านบาท เติบโต 6% QoQ และ 11% YoY ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดเดิมใน 4Q54/55 (ม.ค.-มี.ค.) ผลักดันจากจำนวนผู้โดยสารระหว่างไตรมาสที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ 49.4 ล้านคน ฟื้นตัวขึ้น 6% QoQ จากช่วงปิดภาคเรียนไตรมาสก่อน และยังคงเติบโตแข็งแกร่ง 9% YoY นอกจากนั้นการปรับโปรโมชั่นตั๋วเดือนตั้งแต่ 1 มี.ค. 2555 เราคาดว่าจะส่งผลบวกต่อราคาตั๋วเฉลี่ยราว 1% เป็น 24.75 บาท/ เที่ยว
ธุรกิจสื่อภายใต้ VGI มีแนวโน้มทำได้ดีกว่าอุตสาหกรรม : รายได้จากธุรกิจสื่อคาดจะเติบโตได้ 10% QoQ เป็น 715 ล้านบาท มีโอกาสทำสถิติสูงสุดใหม่เช่นกัน โดย VGI ให้ข้อมูลเบื้องต้นกับเราว่าสื่อบน BTS จะสามารถกลับมาเติบโตได้โดดเด่นอีกครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับรายงานล่าสุดของ Nielsen ที่พบว่ามีการใช้เม็ดเงินโฆษณาบนระบบขนส่งมวลชนใน 9M เดือนแรกเติบโตแข็งแกร่ง 10% YoY เติบโตดีกว่าอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในภาพรวมที่เติบโต 8% YoY
กำไรพิเศษบันทึกไตรมาสนี้อีก 260 ล้านบาท : การแจ้งจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยซึ่งถือครองที่ดินที่ จ.ภูเก็ต BTS แจ้งว่าจะบันทึกกำไรพิเศษจากรายการนี้หลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องราว 260 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิใน 1H55/56 สูงราว 908 ล้านบาท และด้วยกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง กอปรกับต้องการเงินลงทุนเพิ่มเติมไม่มาก เรามองว่า BTS มีโอกาสจะจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงกว่าตลาดคาดได้ หรือในทางกลับกันอาจนำเงินไปชำระหนี้สินก่อนกำหนดได้ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นเช่นกัน
โมเมนตัมระยะยาวดีช่วยผ่อนคลายแรงขายทำกำไรได้ คงคำแนะนำ ซื้อ : เราประเมินว่าผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพบางส่วนจะไม่เร่งรีบที่จะขายทำกำไรหุ้น BTS ออกมา จากโมเมนตัมของผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และโอกาสเชิงบวกในอนาคตจากประเด็น การปรับค่าตั๋วโดยสารขึ้นหลังได้รับอนุมติแล้วก่อนหน้า, ประโยชน์จากส่วนต่อขยายแห่งใหม่แห่งที่ 3 ที่จะเริ่มให้บริการปลายปีนี้ รวมถึงความคาดหวังต่อเงินปันผลงวด 1H55/56 นี้ เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 7.00 บาท/ หุ้น อิง SOTP โดยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าเราใช้ระยะเวลาคำนวณ 17 ปี ตามอายุสัมปทานคงเหลือเท่านั้น การต่อได้สัมปทานออกไป หรือ การหลุดพ้นจากการตรวจสอบในประเด็นการต่อขยายการให้บริการถือเป็น Upside สำคัญ (หมายเหตุ : วันนี้ลูกหุ้น 174.5 ล้านหุ้น จากการแปลงสภาพหุ้นกู้ฯ คิดเป็น 1.7% ของหุ้นทั้งหมดเข้ามาซื้อขายวันแรก)


INFO: kimeng.co.th

หุ้นเกร็งกำไร : UNIQ (3.00)

คำแนะนำ : น่ามีแรงส่งขึ้นทดสอบ 3.14 ฿ +/- 
ภาพเทคนิค: สร้างฐานบริเวณ 2.86 ฿ ล่าสุดทำจุดสูงระยะสั้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นมา ดูมีแรงส่งให้ยกตัวขึ้นต่อ MACD เริ่มยกตัวขึ้น หลังพักตัวอยู่ในแดนบวก Mstoch. ตั้งฐานในแดนล่าง ทำท่าจะพลิกกลับตัว Vol. เพิ่มขึ้น 

แนวรับ : 2.98-2.90 ฿/ ต่ำกว่า 2.88 ฿ หยุดขาดทุน 
แนวปะทะ : 3.06, 3.14, 3.22 และ 3.32 ฿

หุ้นเกร็งกำไร : SMM (2.44)

คำแนะนำ : น่ามีแรงดีดตัวขึ้นทดสอบ 2.56 ฿ +/- 
ภาพเทคนิค: ดีดตัวจาก 2.26 ฿ ขึ้นทดสอบเส้นกดระยะสั้น ดูมีสิทธิทะลุผ่าน ซึ่งน่าจะเกิดแรงส่งให้ยกตัวขึ้นต่อ MACD ยกตัวในแดนลบเข้ามาทดสอบเส้นศูนย์ Mstoch. ดีดตัวขึ้นจากโซนต่ำ และยังมีแรงหนุนต่อเนื่อง Vol. เพิ่มขึ้นบ้าง 

แนวรับ : 2.42-2.34/ ต่ำกว่า 2.32 ฿ หยุดขาดทุน 
แนวปะทะ : 2.48, 2.56, 2.66 และ 2.80 ฿

HEMRAJ (3.22) เป้าหมาย : 3.38, 3.56 ฿

วิเคราะห์ทางเทคนิค : สร้างฐานเหนือแนวเส้นค่าเฉลี่ยหลักบริเวณ 3.10 ฿ +/- ก่อนพลิกตัวทะลุผ่านเส้นกด และยกตัวเดินหน้าเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน สัญญาณ MACD ยกตัวอยู่ในแดนบวกได้อีกครั้ง หลังพักตัวลงมาทดสอบเส้นศูนย์ ด้าน Mod Stoch. ดูมีแรงหนุนให้ยกตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ Vol. เพิ่มขึ้นมา คำแนะนำ – ดีดตัวผ่านเส้นกด และเส้นค่าเฉลี่ยเรียงตัวเชิงบวก มีแนวโน้มยกตัวทำจุดสูงใหม่คล้ายภาพครั้งก่อน อาจพอทยอยสะสมหรือเล่นรอบดีดตัว 
โดยมีแนวรองรับอยู่ที่ 3.16 และ 3.08 ฿ ขณะที่มีแนวปะทะรอบที่ 3.30, 3.38, 3.46 และ 3.56 ฿ 
* ทยอยสะสมหรือเล่นรอบดีดตัว

ตัน "ดัน" อิชิตัน เข้าตลาดหุ้นปี 57 เร็วกว่าแผน 1 ปี เหตุยอดขายพุ่ง ชี้ 4 เดือนกระฉูด 42%

"ตัน"ปลื้มยอดขายอิชิตันลิ่วเข้าเป้า ร่นเข้าตลาดหุ้นวันที่ 9 เดือน 9 ปี 57 เร็วกว่าแผนเดิม 1 ปี เผยปีแรกฟันรายได้ 1.2 พันล้าน ขึ้นอันดับ 2 รองจากโออิชิ ลั่นเป้าปีนี้ยอดขายแตะ 3 พันล้าน อานิสงส์อากาศร้อนดันยอดขาย 4 เดือนแรกกระฉูด 42%

นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มตราอิชิตัน เปิดเผยว่า มีแผนที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนเพื่อกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ 9 กันยายนปี 2557 หรือ 4 ปี หลังจากวางจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่มอิชิตันออกสู่ตลาดในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่วางไว้ว่าจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนได้ภายใน 5 ปี หลังจากที่ทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย โดยในปีแรกมียอดขายรวม 1,200 ล้านบาท ล่าสุดมีส่วนแบ่งในตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม ประมาณ 19.6% เป็นอันดับสองในตลาดรองจากโออิชิ ผู้นำอันดับ 1 ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดสูงสุด 48.6% ขณะที่อันดับ 3 คือ เพียวริคุมีส่วนแบ่งการตลาด 15.1% ทั้งนี้บริษัทมีทุนจดทะเบียนรวม 600 ล้านบาท โดยให้บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

นายตันกล่าวว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ 3,000 ล้านบาท มีเป้าหมายล้างขาดทุนสะสมของปีก่อนหน้า เพื่อให้บริษัทมีกำไรในปี 2556 และนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2557 ได้ตามแผน นอกจากนี้จะใช้งบในการทำตลาดอีก 400 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มเป็น 25% ภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้งบทำตลาดดังกล่าวเพิ่มจากปีก่อนที่มีการใช้ประมาณ 200 ล้านบาท

"ในรอบ 1 ปี ถือว่าทำได้เกินเป้า จึงสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนได้ก่อนแผนเดิม และปีนี้เราตั้งเป้ารายได้ 3,000 ล้านบาท โดย 5 เดือนแรกทำได้แล้ว 1,400 ล้านบาท ถือว่าเป็นบริษัทที่โตเร็วมาก ขณะที่ตอนทำโออิชินั้นทำยอดขายได้ 3,000 ล้านบาท ในปีที่ 5 ที่ทำตลาด แต่อย่างไรก็ตามอิชิตันก็ลงทุนเรื่องการผลิตไปมาก"

นายตันกล่าวว่า ความสำเร็จของอิชิตันเกิดจากการมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย สินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการที่อิชิตันเข้าสู่ตลาดทำให้ตลาดชาเขียวคึกคักเพราะตลาดมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาตลาดชาเขียวโตขึ้น 20% และยังเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ โดย 4 เดือนเติบโตถึง 42.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเติบโตที่คาดว่าจะมากที่สุดในรอบ 4-5 ปี ผลจากการที่อิชิตันเข้ามาทำตลาด มีผู้ประกอบการรายใหม่อย่างมิเรอิ รวมทั้งมีการแข่งกันเรื่องโปรโมชั่นมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์จากอากาศร้อน ซึ่งหากการผลิตของทั้งโออิชิและอิชิตัน อยู่ในภาวะปกติไม่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนคาดว่าตลาดในช่วง 4 เดือนแรกจะโตมากกว่านี้ ส่วนทั้งปีประเมินตลาดโต 30% มีมูลค่าตลาดรวมโตเพิ่มเป็น 13,000 ล้านบาท

(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 13 มิถุนายน 2555)

ถอดรหัสตลาดหุ้น #16 วาทะรับน้อง



มาถึงตอนท้ายของเล่มแล้ว เชื่อว่าทุกท่านที่อ่านมาตั้งแต่ต้นจะเริ่มมองเห็นภาพรวมและสิ่งซ้อนเร้นที่มีอยู่จริงในตลาดหุ้น รวมถึงแนวคิดในการพัฒนากลยุทธ์ของตน เพื่อมารับมือกับสิ่งที่ตนต้องฟันฝ่าไปให้ได้ในตลาดหุ้นแล้ว

ก่อนจบเล่ม ผมได้ทำการขอนัดสัมภาษณ์นักลงทุนรายย่อยรุ่นเยาว์ 2 ท่าน ซึ่งทุกวันนี้อยู่ในระดับโปรเฟสชั่นนั่ล รวมทั้งได้ขอนัดพบปะพูดคุยกับ “ป๋าบุญ” พี่เลี้ยงผู้มากประสบการณ์ และ ได้ทำการถอดเทปบันทึกนั้นมาฝากเป็นการปิดท้าย

ทั้ง 2 ท่านแรก เป็นเซียนหุ้นที่ประสบความสำเร็จสูงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับบรรดานักลงทุนวัยเดียวกัน และ ปัจจุบันทั้งคู่อายุยังไม่ถึง 30 ปี ด้วยซ้ำ รุ่นเยาว์จริงๆ ส่วน “ป๋าบุญ” จะไม่กล่าวถึงเลยไม่ได้แน่ เพราะ “ป๋าบุญ” นอกจากจะเป็นที่ปรึกษาในกลยุทธ์การเทรดการลงทุนแล้ว “ป๋าบุญ” ยังเป็นพี่เลี้ยงที่ดีให้กับกลุ่มเราในการเริ่มต้นสู่ตลาดหุ้นด้วย

ทั้ง 3 ท่านนี้ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง และได้ขอร้องให้ทางทีมงานของเราไม่เปิดเผยชื่อและนามสกุล รวมทั้งรายละเอียดอื่นก่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต

เราจะเริ่มกันที่การสัมภาษณ์ในลักษณะถามตอบกับ “เซียนต้น” ตามด้วยการถอดเทปการให้แนวคิดการลงทุนจาก Mr. Followbuy แห่ง followbuy.com ในโจทย์ที่เราถามว่า “ลงทุนอย่างไร ให้มีชัยในทุกสนาม” และ ปิดท้ายด้วย “ป๋าบุญ” พี่เลี้ยงผู้คว่ำหวอดในวงการตลาดหุ้นมานาน ตั้งแต่สมัยตลาดหุ้นใช้การ “เคาะกระดาน” ในโจทย์ที่เราถามว่า “เริ่มต้นอย่างไร สำหรับมือใหม่ ไร้ประสบการณ์” เชิญฟังสัมภาษณ์ไปพร้อมกับเราได้เลยครับ

ทีมงาน เล่นหุ้นรวย เพราะทางบ้านรวยหรือเปล่าครับ เห็นเซียนต้นขับ Benz ท่าทางจะมีฐานะทางบ้านเข้าขั้นเศรษฐี
เซียนต้น เล่นหุ้นรวยเพราะบ้านรวยไม่เกี่ยวกันครับและทางบ้านผมไม่ได้รวยครับ

ทีมงาน เห็นเขาว่ากันว่า ถ้าคนไหนมีเงินหนาๆ ก็เล่นหุ้นประสบความสำเร็จกันทั้งนั้นจริงป่าวครับ
เซียนต้น หลายคนอาจจะคิดแบบนั้น แต่มันไม่จริงครับ การจะเล่นหุ้นให้ประสบความสำเร็จ แท้จริงแล้วอยู่ที่ข้อมูลและการตัดสินใจครับ การมีเงินจำนวนมาก บางครั้งอาจจะเสียเปรียบด้วยซ้ำไปเพราะหุ้นบางตัวมีสภาพคล่องน้อย กว่าจะซื้อหุ้นได้ครบ ก็ต้องซื้อราคาแพง พอจะขายก็ขายยาก ทำให้ขายได้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

ทีมงาน แล้วเริ่มต้นยังไงกับหุ้นล่ะครับ ทำไมถึงมาเล่นหุ้นแบบ full-time
เซียนต้น เคยตั้งใจไว้ตั้งแต่ยังไม่มีเงินแล้วครับว่าจะต้องเข้ามาเล่นหุ้น โดยมีความฝันว่าวันนึงจะมีรายได้เงินปันผลจาก port ที่ลงทุนเพียงพอ โดยที่ไม่ต้องทำงาน หลังจากได้ bonus ก้อนแรกมาก็นำมาซื้อหุ้นทันทีเลยครับ

ทีมงาน พอจะเปิดเผยได้ไหมครับ เริ่มต้นเท่าไหร่ ใช้เงินเยอะไม๊
เซียนต้น เริ่มด้วยเงินประมาณ 2แสนบาทครับ

ทีมงาน เล่นครั้งแรกก็ประสบความสำเร็จเลยหรือเปล่าครับ เซียนต้นเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ?
เซียนต้น ไม่ประสบความสำเร็จครับ เจ็บตัวแต่ไม่มาก ทีแรกกะว่าจะซื้อลงทุน เลยซื้อแต่หุ้น Blue chip กับหุ้นปันผล หลังจากซื้อไปปุ๊ป นั่งจ้องมันทั่งวัน พอขยับลงมาหน่อยก็เครียดแล้ว ซักพักก็ไม่ไหวครับทนไม่ได้ต้องขายตัดขาดทุนออกไปครับ

ทีมงาน ได้บทเรียนอะไรมาจากการเล่นหุ้นในช่วงแรกๆบ้างครับ
เซียนต้น รู้จักตัวเองครับ รู้ว่าเราไม่ใช่นักลงทุนระยะยาวแน่นอน เลยกำหนดกลยุทธ์ใหม่

ทีมงาน บทเรียนราคาแพงสุดในตลาดหุ้นคืออะไรครับ
เซียนต้น เหตุการณ์ 911 ครับ วันนั้นมั่นใจมาก พกหุ้นกลับบ้านไปมากที่สุดในชีวิต

ทีมงาน หลักการสำคัญที่สุดที่ยึดเป็นเกณฑ์ในการเล่นหุ้นคืออะไรครับ
เซียนต้น ทำความรู้จักตัวเองให้ดีก่อนว่าเราเป็นนักลงทุนแบบไหน ต้องการอะไรจากการลงทุน กำหนดกลยุทธ์และวางแผนที่จะลงทุน และ ตัดสินใจซื้ออย่างมีเหตุผล และปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่เราวางไว้

ทีมงาน ฟังดูก็ไม่น่าจะยาก แล้วทำไมคนเจ๊งมีมากกว่าคนได้ล่ะครับ
เซียนต้น นักลงทุนใหญ่จะเข้ามาเล่นหุ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นบูมมากๆ พอเริ่มรู้สึกว่าชาวบ้านเค้ารวยกันก็เลยเข้ามาลองดูบ้าง พอเข้ามาช่วงที่ตลาดมันดีมากๆ ราคาหุ้นส่วนใหญ่ก็อยู่ในระดับที่สูง พอตลาดเริ่มลงก็ขาดทุนซิครับ ตรงข้าม ตอนที่ตลาดหุ้นเงียบเหงาสุดๆ ราคาหุ้นลงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กลับไม่มีใครอยากซื้อหุ้น มันก็เลยกลายเป็นคนส่วนใหญ่มักซื้อหุ้นตอนแพง มีคนส่วนน้อยมาก ที่ได้ซื้อหุ้นตอนราคาถูก จึงเป็นที่มาว่า คนเจ๊งมีมากกว่า

อย่าว่าแต่รายย่อยเลยครับกองทุนรวมเองก็เป็นครับ สมัยปี 2000 หุ้นเทคโนโลยีบูมมากๆกองทุนรวมหุ้นไฮเทคโนโลยีผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด มาปี 2001 หุ้นเทคโนฯ ลงเละ ต่อมาปี 2004 (ไม่แน่ใจ) หุ้นอสังหาฯ บูมมาก ราคาหุ้นแต่ละตัวขึ้นมาไม่ต่ำกว่า 100 % กองทุนรวมยังไม่เข็ดผุดกองทุนรวม property ขึ้นมาอีกจำนวนมาก หลังจากนั้นหุ้นอสังหาฯแต่ละตัวลงเละเช่นเดิม ล่าสุดผมเริ่มจะเห็นกองทุนรวม เริ่มจะตั้งกองทุนรวมพลังงานอีกแล้วครับ

ทีมงาน คิดยังไงกับคำพูดที่ว่า “เราเล่นสู้เขาไม่ได้หรอก เขามีข่าววงใน”
เซียนต้น อันนี้จริงครับถ้าเขาใช้ข่าววงในเราเสียเปรียบแน่นอนครับ เราก็อย่าไปซื้อหุ้นที่มีพฤติกรรมแบบนี้ซิครับ

ทีมงาน มีหลักในการเลือกหุ้นยังไงครับ
เซียนต้น จะให้น้ำหนักกับพื้นฐานในการเลือกตัวหุ้น และจะใช้สัญญาณทางเทคนิคบวกกับบรรยากาศการลงทุน ในการตัดสินใจเข้าซื้อครับ

ทีมงาน จังหวะในการซื้อหุ้นควรเป็นตอนไหนครับ
เซียนต้น ไม่มีกฏอะไรตายตัวครับขึ้นอยู่กับจังหวะและสถานการณ์ครับ ที่สำคัญอยู่ที่กลยุทธ์ของแต่ละคนด้วย

ทีมงาน ทำไมเซียนต้นต้องขายตัดขาดทุนด้วยครับ ได้ข่าวว่าขายขาดทุนก็บ่อย
เซียนต้น ไม่มีกฎตายตัวเช่นเดียวกัน มันก็กลับไปอยู่ที่กลยุทธการลงทุนของเราเอง ถ้าดูมาดีแล้วว่าหุ้นที่เราซื้อเป็นหุ้นพื้นฐานดี ราคามันถูกจริงๆ คิดไว้ว่าจะซื้อลงทุน ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปตัดขาดทุน อย่างน้อยก็สบายใจที่ได้ถือไว้ แต่ถ้าตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้นเพื่อเก็งกำไร แล้วมันเกิดขาดทุน ก็ควรจะขายตัดขาดทุนไป เพราะการซื้อเก็งกำไร คงไม่ได้ไปคำนึงถึงพื้นฐานอะไรมากมาย ในตอนตัดสินใจซื้อ ถือไว้ก็เครียดเปล่าๆ

ทีมงาน แต่ถ้าไม่ขาย ก็ไม่ขาดทุนนะครับ ถือไว้เดี๋ยวมันก็เด้งกลับ หุ้นมีลงก็ต้องมีขึ้น
เซียนต้น อย่าไปคิดเลยครับว่าไม่ขายคือไม่ขาดทุน มันเป็นการหลอกตัวเอง แท้จริงแล้วเราก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันขาดทุนไปแล้วจริงๆ

ทีมงาน ถ้าติดหุ้นอยู่ ควรจะซื้อถัวเฉลี่ยดีไหมครับ เซียนต้น
เซียนต้น มันขึ้นอยู่กับกลยุทธการลงทุนที่เราวางไว้ ลองนึกย้อนกลับไป ตอนเราเริ่มซื้อหุ้นตัวนั้นๆว่า เราใช้หลักการ และเหตุผลอะไรในการเข้าซื้อ ถ้าเรากะว่าจะซื้อเข้าไปซื้อเล่นเก็งกำไรตามชาวบ้านเค้า ตอนขายก็ควรขายแบบเก็งกำไรด้วย เช่น ซื้อแล้วหวังกำไรซัก 5% แต่ถ้าซื้อแล้วไม่ขึ้นก็ควรจะตัดขาดทุนที่ไม่เกิน 5% ด้วย ไม่ใช่กำไรเอา 5% แต่ขาดทุนเอา 50% แต่ถ้าเหตุผลในการลงทุนตอนนั้น คือการลงทุนระยะยาว หาข้อมูลมาอย่างดีแล้วว่า ราคานี้ถูก ปันผลสูง ราคาลงมาก็ไม่ผิดที่จะซื้อเพิ่ม

ทีมงาน เซียนต้นขายเมื่อมีกำไรกี่เปอร์เซ็นต์ครับ
เซียนต้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับ บางครั้งกำไร 5% ก็ควรขาย บางครั้งกำไร 100% ยังไม่ควรขายเลย แต่บางครั้งขาดทุนก็ต้องขายครับ

ทีมงาน ซื้อหุ้นราคาถูกๆ ราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีดีไหมครับ ราคาถูกดี ต่ำกว่าราคาบุ๊คแวลู
เซียนต้น ไม่ควรใช้เกณฑ์ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี มาเป็นเหตุผลในการเลือกซื้อหุ้นครับ เพราะ ถ้าหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี แต่ความสามารถในการทำกำไรไม่ดี ราคาก็ต่ำอยู่อย่างนั้น ลงทุนไปก็เงินจม ไม่สังเกตหรือครับ ว่าราคาหุ้นกลุ่มเหล็ก เช่น SSI, NSM ก็ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีทั้งนั้น แต่ 4 ปีแล้วที่ราคาไม่ขึ้นเลย แถมเตี้ยลงเตี้ยลงอีกในแต่ละปี ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นจากคนส่วนใหญ่มองเห็นโอกาสในการทำกำไรในอนาคตมากกว่าครับ ไม่ใช่ซื้อหุ้นเพราะมองว่า ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ถ้าจะซื้อหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีจริง ต้องไปซื้อหุ้นที่บริษัทกำลังจะเจ๊งครับ เมื่อบริษัทนั้นเจ๊ง ขายทรัพย์สินทอดตลาด ก็พอมีหวังได้เงินคืนมามากกว่าราคาที่ซื้อหุ้นอยู่บ้าง แต่ถ้าบริษัทไม่เจ๊ง โอกาสทำกำไรก็ไม่มี ราคาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีก็ไม่มีความหมาย

ทีมงาน เซียนต้นมีหุ้นในดวงใจไหมครับ
เซียนต้น ใจง่ายครับ เปลี่ยนตัวชอบไปเรื่อยๆ แต่มักจะชอบกลุ่มโบรกเกอร์ เพราะรู้สึกว่าขึ้นลงเร็วดี ไม่มีรอบไหนที่ตลาดขึ้น แล้วกลุ่มโบรกเกอร์ไม่ขึ้น ธุรกิจไม่ซับซ้อนมาก พอจะคาดการกำไรได้เองโดยคำนวณจากปริมาณการซื้อขายของตลาดต่อวัน และ Market Share ของโบรกเกอร์ตัวนั้น อีกอย่างยังมีตลาดหลักทรัพย์คอยควบคุมให้อีก

ทีมงาน มีความเห็นยังไงกับหุ้นขนาดใหญ่ ราคาแพงจัง เล่นหุ้นตัวเล็กๆ ราคาต่ำกว่าบาท ราคา 1-3 บาท ได้เปรียบกว่าไหมครับ ถ้าเราเป็นรายย่อย
เซียนต้นอย่าไปกลัวหุ้นราคาแพงครับ หุ้นตัวละ 100 บาทขึ้นทีละ 1 บาท กับหุ้นตัวละ 10 บาทขึ้นทีละ 10 สตางค์ มันก็ 1% เท่ากัน

ทีมงาน ทำไมเซียนหุ้นส่วนใหญ่ มักแนะให้ซื้อตามตอนหุ้นวิ่ง ราคามันขึ้นมามากแล้ว ทำไมเซียนหุ้นไม่ชอบให้ถัวเฉลี่ยราคาตอนหุ้นลง ยิ่งลงก็ยิ่งซื้อได้ถูก
เซียนต้น เพราะเซียนหุ้นที่ว่าเนี่ยเป็น Money Maker ไม่ใช่ Investor ถ้าไปซื้อหุ้นนิ่งๆหรือหุ้นที่เคลื่อนไหวน้อย เงินจม และ โอกาสในการทำกำไรก็แทบจะไม่มีเลยซิครับ หุ้นนิ่งๆยังทำกำไรยาก ยิ่งหุ้นลง ยิ่งไม่ต้องคุยเลยครับ Money Maker เค้าไม่เล่น ตอนหุ้นลง ต้องเป็นเซียนหุ้นลงทุนแบบ วอเรน บัฟเฟท์ หรือบ้านเราก็มี ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ทีมงาน เห็นเพื่อนเซียนต้นบอกว่า ช่วงตลาดดีๆ เซียนเทรดทีหลายสิบล้านบาทต่อวัน จริงหรือป่าวครับ
เซียนต้น ก็มีบางครั้งครับ แต่ไม่ดีหรอก Trade หลายรอบมากก็เสียค่าคอมมิชชั่นมากตอนนี้ลดลงไปเยอะแล้วครับ แบ่งไป trade futures แทน

ทีมงาน เห็นเพื่อนเซียนต้นบอกว่า รถเบ็นซ์ที่ขับ กับ นาฬิกาโรเล็กซ์เรือนละ 4 แสน ซื้อเป็นรางวัลชีวิตให้กับตัวเอง เล่นหุ้นได้กำไรมากมายขนาดนั้นเลยหรอครับ ใช้เวลาสะสมกำไรนานป่าว
เซียนต้น ก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะเป็นรางวัลครับ แต่ผมชอบและอยากได้มานานแล้ว ตอนนั้นพอมีเงินเหลือ ก็เลยตัดสินใจซื้อครับ แต่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีนะครับ และอยากแนะนำนักลงทุนหน้าใหม่ ไม่ควรนำเงินที่ได้จากการเล่นหุ้นไปผ่อนอะไรทั้งนั้น เพราะมันไม่มีอะไรแน่นอน อาจจะขาดทุนก็ได้ในอนาคต ตอนที่ซื้อนั้นเล่นหุ้นมาประมาณ 3-4ปี แต่ที่ได้กำไรจริงๆ รู้สึกจะเป็นช่วงปี 2003 ครับ ช่วงนั้นผมว่าใครเล่นหุ้นก็ได้กำไรเยอะๆกันทุกคนครับ อยู่ที่ได้มาแล้วจะคืนมันไปหรือเปล่าครับ

ทีมงาน เป้าหมายในชีวิตเซียนต้น อยากทำอะไรครับ
เซียนต้น เป้าหมายคืออยากรวยครับ และไม่อยากทำอะไร (พูดเสร็จ หัวเราะ)

ทีมงาน มีอะไรอยากฝากบอกคนใหม่ๆที่เข้ามาตลาดหุ้นมั่งครับ
เซียนต้น ผมเห็นนักลงทุนหลายคนมักจะขายหุ้นที่มีกำไรออก แล้วเก็บหุ้นที่ขาดทุนไว้ใน Port สมมุติว่าซื้อหุ้นเข้า port ไป 10 ตัว พอตัวไหนขึ้นมามีกำไรก็จะขายออก แล้วก็ไปซื้อหุ้นตัวอื่นแทน ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนหุ้นทุกตัวใน port ขาดทุนหมด

แท้จริงแล้วหุ้นตัวที่ขึ้น มันก็คือหุ้นที่ดี แต่เรากลับไปขายมัน ไอ้ตัวที่ไม่ขึ้นก็คือหุ้นไม่ดี เรากลับไปเก็บไว้ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย Port เราก็จะมีแต่หุ้นไม่ดีทั้งหมด จะดีกว่าไหมถ้าขายหุ้นที่ขาดทุนออกไปให้หมด เก็บแต่หุ้นที่มีกำไรเอาไว้ ทุกครั้งที่เอา port มาดูก็ชื่นใจเห็นมันกำไรทุกตัวดีกว่าเห็น port ส่งมาที่บ้านทีไร แทบจะอยากเอาไปเผา

จากนั้นเซียนต้นก็ขอตัวไปทำธุระต่อ ล่าสุดเซียนต้นได้ร่วมลงหุ้นกับเพื่อนเปิดผับย่านทองหล่อ และ เปิดร้านอาหารญี่ปุ่นย่านถนนรัชดา ทางทีมงานเลยต้องยุติการสัมภาษณ์ต่อด้วยความจำใจ

ล่าสุดเราถอดเทปแนวคิดจาก Mr. Followbuy เซียนหุ้นเล่นรอบแห่ง followbuy.com ในโจทย์ที่เราถามว่า “ลงทุนอย่างไร ให้มีชัยในทุกสนาม” มาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสดๆร้อนๆ ไปฟังกันครับ

“แนวคิดของผมก็ไม่ได้แตกต่างไปจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านการลงทุนท่านอื่นๆหรอกครับ เพียงแต่ว่าการคัดกรองและเลือกหุ้นของผม อาจจะแตกต่างจากท่านอื่นๆไปบ้างเท่านั้นเองครับ แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจครับ”

“เริ่มแรกเลยผมจะยังไม่ได้ดูจากเทคนิค ไม่ได้ดูกราฟนะครับ ผมเริ่มต้นจากการอ่าน การอ่านจะทำให้เรามีข้อมูลของหุ้นตัวนั้นๆ ที่ค่อนข้างแน่น แล้วถ้าในอนาคตเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาก็ตาม จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจผลกระทบของเหตุการณ์นั้นๆ ที่มีต่อหุ้นของเราได้อย่างรวดเร็วทำให้ไม่เสียโอกาสในการเข้าซื้อขายครับ”

“หลังจากนั้น เราก็ต้องมองหาจุด หรือว่า “Investment Theme” ของหุ้นตัวนั้น ว่าเราจะเล่นเรื่องไหน เพราะอะไร ทำไมต้องเรื่องนี้ มันส่งผลบวกหรือลบขนาดไหนต่อราคาหุ้นในอนาคต จากนั้นถึงจะมาเข้าสู่ขั้นตอนของการใช้เทคนิคเข้ามาช่วยคัดกรองเป็นด่านสุดท้ายครับ

“อย่างในปีนี้ก็จะมีหุ้นอยู่ 2 ตัวที่ทำกำไรให้กับก๊วนของเราได้ค่อนข้างสูง ก็คือทาง BANPU กับ ATC ครับ ทั้งคู่ผมเล่นในแนวโน้มของราคาผลิตภัณฑ์ของเค้าที่ตอนนั้นมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการในตลาดโลกที่สูงขึ้น และบทวิเคราะห์ของต่างชาติหลายๆที่ก็ชื่นชอบทั้ง 2 ตัวนี้ด้วย ทำให้ค่อนข้างมั่นใจมากขึ้น เพราะจะได้อาศัยเงินของต่างชาติพาไปด้วย จากนั้นค่อยเข้าไปซื้อหุ้น โดยทาง BANPU นี้เริ่มซื้อตั้งแต่ 170 บาทกว่าๆครับ ส่วน ATCประมาณ 43-44 บาท สรุปแล้วก็คือว่า ผมจะใช้ปัจจัยพื้นฐานในการเลือกหุ้นก่อน จากนั้นค่อยนำเอาเทคนิคเข้ามาหาจังหวะและระดับราคาในการเข้าซื้อขายครับ”

“สำหรับนักลงทุนที่มาเล่นแบบไม่มีทุนหนุนหลัง ตั้งใจว่าจะมาหาเอาดาบหน้าอย่างเดียวเล็งแต่จะเล่นพวกหุ้นเก็งกำไรตัวเล็กๆ ลุ้นเอาว่าจะมีใครมาผลักมาดันให้ราคามันสูงขึ้นรึเปล่า ราวกับเล่นการพนันไม่มีผิด ขอบอกเลยว่ายากครับที่จะได้เงินกลับบ้าน

“ยิ่งในช่วงที่เป็นภาวะกระทิงจัดๆแบบปีนี้ด้วยแล้ว คุณคิดว่านักลงทุนรายใหญ่เค้าอยากจะเล่นอะไรมากกว่ากันครับ ระหว่างซื้อหุ้นขนาดใหญ่ที่พื้นฐานดีและเป็นที่ชื่นชอบของต่างชาติในจำนวนเงิน 200-300 ล้านบาท มองกำไรไว้ที่ระดับ 30-40% กับ การเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับการเล่นหุ้นที่ Market Caps ไม่กี่ร้อยล้านบาท ซึ่งตนเองแทบจะสามารถดันให้ราคาหุ้นขึ้นไปได้ อย่างไม่ลืมหูลืมตาเลยล่ะ +300% 400%ง่ายๆเลยนะ ซึ่งขั้นตอนนี้ยังต้องระวัง การเข้าจับกุมของเจ้าพนักงานแห่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยนะครับ แต่ว่าจังหวะจะขายหุ้นออกจริงๆ กลับขายไม่ได้ ไม่มีใครมารับช่วงต่อ ก็จะได้ไปแต่ Unrealized Gain พร้อมๆกับเงินที่ต้องค้างอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่หาข่าวดีๆอะไรมาสนับสนุน ก็คงจะขายออกได้ยาก”

“เจออย่างนี้พวกนักลงทุนรายใหญ่ๆ เค้าก็หันไปเล่นตัวใหญ่ๆกันหมด ขอฝากตัวฝากใจไปกับเงินฝรั่งก่อนดีกว่า สบายใจแล้วก็ปลอดภัยกว่าด้วย ในจุดนี้ผมก็อยากจะชี้ให้ท่านนักลงทุนมองถึงการเลือกประเภทของหุ้นด้วยเหมือนกันครับ อย่ามัวแต่จะเล่นแต่หุ้นเก็งกำไรอย่างเดียว ถ้าภาวะกระทิงแบบนี้เลือกหุ้นตามฝรั่งกันบ้างเถอะครับ”

“เล่นไปตามกระแสเคลื่อนไหวไปตามตลาดดีกว่า”

“ยิ่งสมัยนี้มี TFEX มาให้เล่นด้วยแล้ว ทำให้การเล่นและการเคลื่อนไหวสามารถทำได้สะดวกขึ้นทั้งในรอบของการขึ้นและลง”

“ส่วนในเรื่องของการ cut loss แล้วก็ follow buy นั้น ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่นักลงทุนทุกท่านควรจะต้องทำให้เคยชินเป็นนิสัย ในจุดนี้ก็คงจะเหมือนๆกับท่านอื่นๆที่มอง2 สิ่งนี้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ”

“ผมจะลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆก็แล้วกัน นักลงทุนเปรียบเสมือนอัศวินในสนามรบ cut loss เปรียบเสมือนโล่ ซึ่งจะคอยช่วยป้องกันอัศวินนักลงทุน เมื่อเลือกหุ้นหรือจังหวะเข้าตลาดผิด การ cut loss จะทำให้ความสูญเสียมีอยู่ในวงจำกัด คือว่าจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 3-5% ไม่ลุกลามไปมากกว่านี้ ซึ่งถ้าเราไม่ใช้โล่ให้เป็น ในยามที่เลือกหุ้นหรือจังหวะไม่ดี ก็จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ค่อนข้างหนัก ส่วนการ follow buy มันก็เปรียบเสมือนดาบซึ่งคอยเอาไว้ฟัน(กำไร) ในยามที่หุ้นสามารถทะลุผ่านจุดสำคัญใดๆไปได้ อย่างเช่น new high หรือว่า all time high อย่าไปมองว่าสูงหรือว่าดอย ลองดูเทคนิคประกอบกันไป ถ้ามันโอเคก็ follow buy ไปเถอะครับ”

“ดูมาแล้วมากกว่า 50% ของการใช้กลยุทธ์ follow buy ไม่ขาดทุนครับ เหตุผลง่ายๆก็คือหลังจากที่หุ้นผ่านจุดสำคัญซึ่งมีแรงขายหนักๆ (แนวต้าน) มาได้แล้ว จะทำให้หุ้นตัวนั้นเผชิญกับแรงขายที่น้อยลงไปมาก และ ในทางกลับกันในแง่ของ demand จะยิ่งมีมากขึ้นด้วย เพราะว่าแรงซื้อเข้ามาสนับสนุนหนาแน่นขึ้น ทั้งจากคนที่ต้อง cover position ที่ขายออกไป เพราะมองว่าจะไม่ผ่านแนวต้านนี้ และก็คนที่มาใช้กลยุทธ์ follow buy เพราะมองจิตวิทยาการลงทุนได้ทะลุปรุโปร่งเข้ามาสนับสนุนอีกแรงหนึ่งด้วยครับ”

“อีกส่วนนึงที่คอยมาบั่นทอนผลตอบแทนของนักลงทุนหลายๆท่าน ตรงส่วนนี้ผมมองเห็นคำว่า “ราคา” กับ คำว่า “กำไร-ขาดทุน” ครับ โดยทั้ง 2 ตัวเป็นภัยที่ใกล้ตัวเรามากเหลือเกิน ทำไมผมถึงมองอย่างนั้นล่ะครับ

“ “ราคา” หมายถึงว่า การที่นักลงทุนมัวแต่ไปห่วงเรื่องราคาหรือต้นทุนหุ้นของเก่าที่เคยถืออยู่ ซึ่งเป็นอดีตและมันก็แก้ไขไม่ได้แล้วด้วย ลืมมองไปที่แนวโน้มต่อไปว่าอนาคตหุ้นน่าจะเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างไร ตรงส่วนนี้ก็จะทำให้ถูกภาพหลอนของราคา หรือ ต้นทุนมาคอยบดบังโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีๆได้นะครับ อีก 1 ตัวอันตราย “กำไร-ขาดทุน” หมายถึงว่ามัวแต่ห่วงว่า ณ ตอนนี้เรายังขาดทุนอยู่นะ ยังไม่ขายดีกว่า ยังกำไรน้อยอยู่นะ ไม่ขายดีกว่า”

“ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว เราไม่ควรจะไปใส่ใจราคามันหรอกนะครับ ไม่ต้องมองว่าขาดทุนกี่บาทแล้ว หรือว่า ตอนนี้ยังกำไรนิดเดียวเอง ไม่ว่าท่านจะซื้อมาเท่าไหร่ ตอนไหนเวลาใดให้ยึดหลักง่ายๆเอาไว้ครับว่า “มองว่าขึ้นก็ซื้อ มองว่าลงก็ขาย” เท่านั้นพอ ไม่ต้องไปคิดถึง “ราคา” กับ คำว่า “กำไร-ขาดทุน” ครับ เพราะมันจะทำให้ท่านนักลงทุนเสียโอกาสที่ดีๆไปได้ครับ”

แจ่มครับ วาทะของนักลงทุนมือโปรรุ่นเยาว์ ทั้งสองท่าน

ส่วน ”ป๋าบุญ” ได้เทปคำสัมภาษณ์มาช้ากว่าเพื่อนเลย (ขอแซวหน่อย) เพราะปัจจุบันนี้ ป๋ามีภารกิจเพิ่มขึ้นในฐานะพ่อลูกอ่อนที่ต้องวุ่นอยู่กับการจับปูใส่กระด้ง

ถ้าจะว่าไป ถือว่า “ป๋าบุญ” มีใจรักและอยู่ในตลาดมาเป็นระเวลายาวนาน รู้เห็นอะไรมามากพอสมควร ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายฝน นับตั้งแต่สมัยมาเป็นนักเรียนฝึกงาน ทำหน้าที่วิ่งใบออร์เดอร์ซื้อขาย สมัยที่ตลาดหุ้นไทยยังใช้การเคาะกระดานกันอยู่ ก่อนที่จะมาเป็นเทรดเดอร์จัดการคำสั่งซื้อขายให้กับกองทุนข้ามชาติยักษ์ใหญ่ สัญชาติยุโรปเป็นเวลากว่า 5 ปี ปัจจุบันนอกจากจะเป็นพี่ใหญ่ให้กับมือใหม่แล้ว ยังเป็นพ่อลูกอ่อนอารมณ์ดีอีกด้วย

เนื่องจาก “ป๋าบุญ” เป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มเราสมัยยังใหม่ต่อตลาดหุ้น ผมเลยคิดว่าป๋าเหมาะมากที่จะมาตอบโจทย์ที่ว่า “เริ่มต้นอย่างไร สำหรับมือใหม่ ไร้ประสบการณ์” ก็ขอยกพื้นที่จากนี้ไปให้กับ “ป๋าบุญ” เลยแล้วกันครับ

“รู้สึกหรือไม่ว่านักลงทุนรายย่อยในตลาดหุ้นส่วนใหญ่มักจะขาดทุนหุ้น ขาดทุนมากหรือน้อยต่างกันไป บางคนขาดทุนน้อยก็ยังพออยู่ได้ แต่ Port ก็จะค่อยๆ เล็กลง หรือใครที่มีสายป่านเข้ามาเพิ่มได้ก็ยังอยู่ได้ บ้างก็ขาดทุนจนต้องออกจากตลาดหุ้นเลิกเล่นไปเลยถาวรก็มี”

“เท่าที่ผมเห็น ที่ส่วนใหญ่ขาดทุนก็เพราะว่า “เสียมากกว่าได้””

“คืออย่างนี้ครับ เพราะรายย่อยจำนวนมาก มักจะคอยหาว่าใครเชียร์ตัวไหน รายใหญ่จะเล่นตัวไหน แล้วก็เล่นตามกันไป วันไหนโชคดีซื้อถูกตัวก็ได้กำไร 2-3 ช่วงราคา แต่ถ้าเมื่อไหร่ซื้อผิดตัวหรือจังหวะหุ้นตกทีไร เป็นขาดทุนหนักทุกที มักจะออกไม่ทัน ตัดสินใจ Cut Loss ช้า บางตัวขาดทุนมากกว่า 10% ขึ้นไป ติดอยู่ใน Port ขาดทุนบักโกรกก็มี”

“คิดดูครับ ถ้าเล่นหุ้นถูกตัวได้มา 10 ครั้ง ใน Port อาจกำไรประมาณ 20% แต่ถ้าซื้อผิด ไปเข้าตัวที่ไม่เล่นหรือตัวที่เขาเลิกเล่นกันแล้ว ก็ติดหุ้น ขาดทุนหุ้นเพียง 2-3 ครั้ง ที่เล่นได้มา 10 ครั้งอาจจะกลับมาเป็นขาดทุนในทันที”

“เราลองมาสำรวจตัวเองดูว่าเราเหมาะจะเป็นนักลงทุนแบบไหน ผมขอจำแนกประเภทของรายย่อยมาสัก 3 ประเภทดังนี้

1. เก็งกำไรระยะสั้นอย่างเดียวแล้วแต่ดวง มักจะลงทุนระยะสั้นแบบ Net settlement หรือถือก็ไม่เกิน 2-3 วัน

นักลงทุนประเภทนี้ไม่ต้องหาข้อมูลอะไรมากครับ เข้ามาก็ดู Bid-Offer เห็นตัวไหนมีแรงซื้อเข้ามา ก็หาจังหวะเข้าซื้อ ดวงดีก็ขายได้กำไร ดวงซวยก็ขาดทุน

นักลงทุนแบบนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เพราะกว่าเราจะเห็นว่าตัวไหนจะเล่น ราคาก็ขึ้นมามากระดับหนึ่งแล้ว ได้ก็ไม่มาก แต่ถ้าวันไหนรายใหญ่เขาทิ้งละก็ ขายกันไม่ทันขาดทุนกันหนักทีเดียว

ถ้าคิดว่าเราจะเป็นนักลงทุนแบบเก็งกำไรระยะสั้นละก็ กลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญแบบนี้คือ ถ้าเราคิดว่าถ้ากำไร 2-3% ก็จะขายทำกำไร ดังนั้นถ้าเราคาดการณ์ผิดหุ้นไม่ได้ขึ้นอย่างที่คิด เราก็ต้องตัดขาดทุนอย่างให้ขาดทุนเกิน 2-3% ด้วยเช่นกัน

ถ้าช่วงไหนเล่นแล้วกำไรเรื่อยๆ ก็เล่นไปเถอะครับ แต่ถ้าเริ่มไม่ค่อยถูกจังหวะเริ่มขาดทุนบ่อย ต้องหยุดเล่นก่อน แสดงว่าเราจับจังหวะได้ไม่ดี

2. เล่นตามกราฟ ก็คือการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาหาจังหวะในการซื้อขาย

แบบนี้ก็ดีครับ คือมีการหาจังหวะในการเข้าซื้อหรือขาย ทำให้เรารู้ถึงว่าระดับนี้อยู่ในจุดไหนขึ้นมามากหรือยัง ลงมาลึกแค่ไหน มีสัญญาณซื้อหรือสัญญาณขายหรือยัง

กราฟมันจะบอกเราครับว่ามีแนวโน้มอย่างไร ส่วนกราฟจะแม่นหรือหลอก ก็ต้องว่ากันอีกที

การลงทุนแบบใช้กราฟนี้ เราต้องมีวินัยเป็นอย่างยิ่งครับ เมื่อเกิดสัญญาณ ซื้อก็ต้อง “ซื้อ” และถ้าเกิดสัญญาณขายก็ต้อง “ขาย”

3. เล่นตามปัจจัยพื้นฐาน ก็อาจจะใช้ข้อมูลเบื้องต้นประกอบเช่น P/E P/BV เงินปันผล เป็นต้น หรืออาจจะถึงขึ้นเอางบการเงินมาดูเองก็มี ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของแต่ละคน

แต่แบบนี้ เราต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของเรา และ ต้องมีข้อมูลวิเคราะห์ถึงแนวโน้มในอนาคตด้วยนะครับ เพราะข้อมูลที่เราเห็นเป็นข้อมูลในอดีตที่เราผ่านไปแล้ว ไม่ได้การันตีว่าอนาคตจะดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม หรืออาจจะต้องอาศัยฝ่ายวิเคราะห์ของแต่ละโบรกฯนั่นแหละ ว่าแต่ละที่มีมุมมองอย่างไร แนะนำให้ซื้อหรือขาย เขามีเหตุผลอย่างไร สมเหตุสมผลหรือไม่”

“คุณอยากเป็นนักลงทุนแบบไหน ถ้าเป็นผมนะครับ ผมอยากเป็นนักลงทุนทั้ง 3 ประเภทเลย”

“โดยขอนำทั้ง 3 ประเภทมารวมกัน คือ หาข้อมูลทางปัจจัยพื้นฐานก่อนครับ เมื่อเลือกตัวที่เราจะลงทุนได้แล้ว ก็มาดูวอลุ่มประกอบ และใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค มาหาจังหวะในการซื้อหรือขาย แล้วเข้าเก็งกำไร”

“แต่ความรู้ด้านการลงทุนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน ต้องค่อยๆ ศึกษากันครับ หรือถ้าได้มาร์เก็ตติ้งดีๆ มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ทำการบ้านให้ลูกค้าก็จะดีมากครับ ช่วยได้เยอะมาก”

“และที่สำคัญครับ การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงสูง เพื่อไม่ให้ขาดทุนมากกว่ากำไร เราต้องรู้จักการคำว่า CUT LOSS หรือตัดขายขาดทุนเมื่อมองผิด แล้ว LET PROFIT RUN หรือปล่อยให้หุ้นมันขึ้นไปเรื่อยๆกำไรในพอร์ตของเราก็งอกเงยขึ้นงดงาม เมื่อเป็นไปตามแผนที่เราวางไว้”


INFO: ThaiDayTrade

ถอดรหัสตลาดหุ้น #1 ทำเป็นเก่ง เจ๊งสถานเดียว
ถอดรหัสตลาดหุ้น #2 Limit Loss ไม่เป็น เงินเย็นหายเ...
ถอดรหัสตลาดหุ้น #3 ยิ่งถูกยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อยิ่งลง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #4 ยิ่งไม่กล้าเสี่ยง กลับยิ่งเสี่ยง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #5 วิ่งไปตามแนวโน้ม
ถอดรหัสตลาดหุ้น #6 รู้เขารู้เรา
ถอดรหัสตลาดหุ้น #7 เกาะไปกับ Fund Flow
ถอดรหัสตลาดหุ้น #8 ขายหมูดีกว่าขายหมา น้ำลายหกดีกว่าน้ำตาตก
ถอดรหัสตลาดหุ้น #9 ย้อนรอย วัฏจักรตลาดหุ้น
ถอดรหัสตลาดหุ้น #10 กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ
ถอดรหัสตลาดหุ้น #11 กลวิธี สวนควันปืน เล่นฝืนมวลชน
ถอดรหัสตลาดหุ้น #12 กลวิธี สงครามกองโจร
ถอดรหัสตลาดหุ้น #13 กลลวง ข่าวลือ
ถอดรหัสตลาดหุ้น #14 กลโกงปั่นหุ้น
ถอดรหัสตลาดหุ้น #15 รวยเรื้อรัง หันหลังให้คำว่าเจ๊ง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #16 วาทะรับน้อง

ถอดรหัสตลาดหุ้น #13 กลลวง ข่าวลือ


“ทุ่งกล้า กลับเข้ามาในตลาดเที่ยวนี้ ผมมองว่า ราคามันควรจะวิ่งไปถึง 12 บาท มันจึงจะเหมาะสม”

“เนี่ยะ หุ้นรับเหมาอีเอซี เฮียเค้าหวังปั้น รายใหญ่ล้วนกอดหุ้นกันหมด อีกไม่นานจะได้เห็นการก้าวกระโดดของบริษัท คอยดูแล้วกัน เจ๊เองก็จะถือยาวเลยล่ะ ไม่ขายเด็ดขาด ขายไปก็ไม่มีทางได้ซื้อคืนหรอก”

อาจจะจริงก็ได้ หรือ ไม่จริงก็ได้ครับ เราไม่ใช่ผู้กุมชะตาของหุ้นตัวนี้

แต่ที่แน่ๆ ถ้าข่าวลือแพร่หลายในวงกว้างอย่างเป็นระบบ จนใครๆก็รับรู้ข่าว แสดงว่าผู้กุมชะตามีความพยายามให้ข่าวกระจาย เพื่อหวังผลทางใดทางหนึ่ง เช่น ต้องการให้มวลชนเข้าซื้อ เพื่อตนจะขายได้ราคาดี หรือ ต้องการให้มวลชนขาย เพื่อจะได้เข้าเก็บของ

เพราะถ้าเป็นความลับสุดยอดจริง ข่าวจะไม่มาถึงเราๆท่านๆ ครับ

เนื่องจาก ผู้กุมข่าวและใช้ประโยชน์จากข่าวนั้น จะเป็นผู้ได้ผลประโยชน์มหาศาล หากสาธารณชนยังไม่ทราบข่าว และหากทุกคนมีข้อมูลเสมอภาคเท่าเทียมกัน ราคาจะวิ่งรับข่าวในเวลาอันรวดเร็วจนไม่เหลือส่วนต่างให้หาประโยชน์

ตอนประเทศไทยจะลอยตัวค่าเงินบาท สมัยรัฐบาล พลเอก ชวลิต ท่านได้ข่าวลือมาก่อนไหมคับ

ตอนมาตรการ 30% จะประกาศใช้ กับ ตอนมาตรการ 30% จะได้รับการยกเว้นกับตลาดหุ้น หลังประกาศใช้ได้เพียงวันเดียว ท่านได้ข่าวลือมาก่อนไหมคับ

ครั้นจะไม่ให้แคร์ข่าวลือเลยก็ไม่ได้ ต่อให้ท่านลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี พีอีต่ำ ปันผลสูงก็เหอะ

เพราะหากข่าวลือในทางร้ายมันเกิดขึ้นจริง ความเสียหายมากมายมันก็สามารถเกิดขึ้นกับท่านได้ ในทางตรงข้าม หากมีข่าวลือในทางที่ดี แล้วท่านบอกว่าไม่สนข่าวลือ มันก็สูญเสียโอกาสในการทำกำไรได้เหมือนกัน

ข่าวลือที่ฮิตๆ เช่น ข่าวปฏิวัติซ้ำ ปฏิวัติซ้อน ปฏิวัติย้อน ข่าวลือเรื่องรัฐบาลถังแตก เรื่อง IMF คิดถึงไทย เรื่องต่างชาติจะทุบค่าเงิน ฯลฯ ข่าวรายใหญ่เข้าลุยซื้อหุ้นตัวนี้จำนวนมาก ข่าวรายใหญ่ขายหุ้นบริษัทอยู่ ข่าวบริษัทกำลังจะเพิ่มทุน บริษัทจะชนะประมูล บริษัทจะต้องทำ Tender Offer บริษัทกำลังจะมีข่าวดี บริษัทมีงานใหญ่รออยู่ บริษัทกำลังจะได้พันธมิตรต่างชาติ บริษัทจะประกาศจ่ายปันผลสูงมาก บริษัทจะไปเทคโอเว่อร์กิจการอื่น หรือบริษัทกำลังจะถูกเทคโอเว่อร์ บริษัทจะชนะคดีหรือจะแพ้คดี และ อื่นๆอีกมากมาย

ข่าวอะไรก็ตาม หากมาถึงท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครๆก็รู้เหมือนท่านด้วย แสดงว่าผู้กุมชะตาหุ้นตัวนั้นมีความพยายามให้ข่าวกระจาย เพื่อหวังผลทางใดทางหนึ่ง

เดี๋ยวเราไปดูกันครับ ว่าทำไมเซียนหุ้นถึงให้ “ซื้อทันที” ที่มีข่าวลือในเชิงบวก แล้วค่อยขายทำกำไรเมื่อข่าวจริงปรากฏ เข้าตำราที่ว่า “Buy on rumor, Sell on fact”

และ ทำไมเซียนหุ้นถึงให้ “ขายทันที” ที่มีข่าวลือในเชิงลบ แล้วค่อยซื้อหุ้นคืน ในต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมมาก เมื่อข่าวจริงปรากฏ เข้าตำราที่ว่า “Sell on Rumor, Buy on fact”

แต่ก่อนจะซื้อหรือขายช่วยเช็คหน่อยก็ดี ว่าเราเป็นคนแรกๆที่รู้ข่าวลือนี้ หรือ เขารู้กันทั้งตลาดแล้ว ลองเช็คราคาคร่าวๆดูนะครับ ว่ามันขึ้นหรือลงเล่นข่าวนั้นมากี่วันแล้ว อย่าตกเป็นเหยื่อของข่าวลือโดยเด็ดขาด

บางทีเรื่องราวต่างๆนี้ อาจจะช่วยให้ท่านเข้าใจได้ว่า ทำไมบริษัทออกจะมีข่าวดีปานนั้น แต่พอท่านซื้อแล้วมันดันทะลึ่งลง และ ทำไมบริษัทเจอมรสุมขนาดนี้ แต่พอท่านขายมันกลับเด้งกลับซะงั้น

ท่านเชื่อเรื่อง ข่าววงในไหมครับ…

โดยเฉพาะข่าววงในที่มาจากเจ้าของหุ้น หรือผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว การนำข้อมูลภายในมาซื้อขายหุ้น ก่อนจะแจ้งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศต่อนักลงทุนอย่างเป็นทางการนั้น ผิดกฎหมายฐานใช้ข้อมูลวงใน (Insider trading) และผิดจรรยาบรรณ เพราะถือว่าไม่มีธรรมาภิบาลครับ

แต่เอาเข้าจริง ก็มักมีพฤติการณ์ทำนองนี้อยู่เรื่อยๆ มีทั้งจับได้มั่ง จับไม่ได้มั่ง หรือกว่าจะจับได้ก็เข้าตำรา กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้

ผมไม่สนับสนุนให้ท่านทำผิดกฎหมาย หรือร่วมกับเจ้าของหุ้นทำผิดนะครับ แต่ในเมื่อยังมีเจ้าของหุ้นมีพฤติการณ์ Insider trading แล้วก็เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักลงทุนมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ปราบไม่ได้ทำลายไม่หมดมาถึงยุคปัจจุบัน และยังน่าจะมีต่อไปคู่กับตลาดหุ้นในอนาคต ผมก็ขอเปิดกลเกมเจ้าของหุ้นให้รู้กันไว้

พวกเราคนเล่นหุ้นจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ หรือบางทีอาจมีรางวัลงามติดปลายนวม หากเรารู้ทันพวกเจ้าของหุ้นเจ้าเล่ห์ทั้งหลาย

ถ้าบริษัทกำลังจะมีข่าวดี สมมุติว่าท่านเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้บริหาร หรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ท่านจะแอบเข้าเก็บหุ้นก่อนหรือเปล่าครับ

และเมื่อท่านเก็บจนพอแล้ว ท่านอยากให้หุ้นขึ้นหรือเปล่าครับ

ถ้าจะให้หุ้นขึ้นด้วย และ ท่านเองก็ได้บุญคุณด้วย ท่านก็ต้องบอกคนใกล้ตัวให้เข้าเก็บด้วยใช่ไหมครับ

เมื่อคนใกล้ตัวหลายๆคนเข้าเก็บ กราฟราคาหุ้นจะออกอาการเป็นแนวโน้มขาขึ้น และเมื่อคนใกล้ตัวท่านโทรกริ๊งกร๊างบอกญาติพี่น้องเพื่อนพ้องเขา ข่าวลือก็จะปูดออกสู่สาธารณะ พร้อมๆกับราคาขยับขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างเร็ว จริงปล่าว

และเมื่อข่าวจริงปรากฏ เมื่อหนังสือพิมพ์ลงข่าว นักวิเคราะห์จะปรับราคาเป้าหมายใหม่ พร้อมแนะนำซื้อ บอกว่าดีอย่างงั้นอย่างโง้นอย่างงี้ ทำให้ มวลชนคนส่วนใหญ่ในตลาดที่เคยลังเล ตอนได้ยินข่าวลือมาใหม่ๆ เกิดมีความมั่นใจอย่างแรงที่จะเข้าซื้อตามอย่างเร่งรีบ ด้วยความกลัวตกขบวนรถไฟสายด่วน

แหม ราคาก็ขึ้นมามากแล้ว ปริมาณหุ้นที่ตั้งรอซื้อก็หนาแน่น ท่านจะขายไหมครับ คนใกล้ตัวและญาติพี่น้องเพื่อนพ้องทั้งหลาย อยากจะขายไหมครับ กำไรขนาดนี้แล้ว

ถึงจะมีข่าวดี แต่หากปริมาณหุ้นจำนวนมหาศาลถูกเทขายลงมา ยังไงราคาก็รูดลง ตรงนี้เองที่ทำให้กลุ่มที่ขายทำกำไรไปก่อน มีความมั่นใจว่าจะได้ซื้อคืนในราคาที่ต่ำกว่าเดิม ……. ก่อนที่อานิสงค์ของข่าวดีนั้นจะไปโผล่ในงบการเงิน เจ้าของหรือผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็ทำกำไรกันได้ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบแล้ว

เรื่องนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์หน่อยแล้วกันครับ ว่าผมจัดการอย่างไรกับข่าวลือดีๆเหล่านั้น

เมื่อมีข่าวดีลือเข้ามา ผมจะเคาะซื้อไปก่อน 1 ส่วนเลย เพื่อทดสอบสมมุติฐานของข่าว

ยังไงเสีย ไม่ว่าข่าวดีที่ลือเข้ามานั้นจะจริงหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยผู้เจตนาปล่อยข่าวก็ต้องมีการเคาะโชว์นำขึ้นไปก่อนล่ะครับ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับข่าว เพื่อลวงมวลชนว่าข้อดีนี้มีมูล

หากผมซื้อไปแล้ว ราคาไม่ยักกะลง ทีนี้แหละก็จะซื้อตามขึ้นไป ตามสไตล์ “ยิ่งขึ้นยิ่งซื้อ” แสดงว่าหุ้นตัวนี้มันมีอะไรซ่อนอยู่ จำนวนหุ้นที่วางขาย มันเลยไม่เพียงพอ ต่อความต้องการซื้อในขณะนั้น จนผู้ซื้อต้องเคาะซื้อขึ้นไปแบบไม่เกี่ยงราคา

แต่หากผมซื้อหุ้นเข้าไปแล้ว ราคาก็ร่วงตกลงมา นี่ซิปัญหา ไฉนหุ้นถึงดิ่งลงมาให้เราซื้อได้อีกที่ราคาเดิม หรือ บางทีซื้อได้ถูกกว่าเดิมมากๆด้วยซ้ำ แบบนี้ผมเผ่นล่ะ ขายขาดทุนหนีตายดีกว่า แสดงว่าสมมุติฐานเราผิดแล้ว ใครจะมาใจดีให้เราได้ซื้อได้ไม่อั้นขนาดนั้น ถ้ามันมีข่าวดีจริงๆ รออยู่ในระยะเวลาอันใกล้
สังเกตไหมครับ หากผมซื้อแล้วขึ้นมันจะขึ้นๆๆ จนทำกำไรได้มากมาย แม้ข่าวจะยังไม่ออกก็ตาม แต่หากผมซื้อแล้วลง ผมทิ้งโดยเร็ว เสียหายเพียงเล็กน้อย ถือว่ายังคุ้มค่าที่จะเข้าไปเสี่ยง

ย้ำอีกทีนะครับ ถ้าซื้อหุ้นแล้วมันไปในทิศทางที่เราคาดหวัง กำไรจะวิ่งไปอย่างมากมาย แต่หากซื้อแล้วผิดคาด รีบยอมแพ้แต่เนิ่นๆ จะเสียหายเพียงเล็กน้อย

แบบนี้ ถูก 5 ครั้ง ผิด 5 ครั้ง ก็รวยแล้ว

และอย่าลืมนะครับ ไม่ว่าข่าวดีที่ลือกัน ไม่ว่าจะเป็นแจกวอแร้นท์ ได้พันธมิตรใหม่ ได้งานโครงการใหญ่ หรือ จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงมากก็ตาม และไม่ว่าข่าวนั้นจะจริงหรือเท็จก็ตาม ส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะวิ่งนำขึ้นมาก่อนเสมอ ท่านต้องเลือกแล้วล่ะครับว่าจะซื้อในทันที หรือ ซื้อเมื่อข่าวออก

ถ้าข่าวลือนั้นมีมูลจริง ความต้องการซื้อก็ควรจะสูง ปริมาณหุ้นที่วางขาย ก็ควรจะมีแต่คนที่จ้องจะแย่งกันเก็บ ถึงแม้อาจจะมีการบล็อกหุ้น หรือ ตบไล่แขกลงมาบ้าง แต่ราคาก็จะไม่ลงไปลึก เพราะหากลงลึก หุ้นจะถูกเปลี่ยนมือไปอยู่ในมือของรายย่อยแทน ซึ่งเป็นไปได้หรือครับ หากบริษัทกำลังจะมีข่าวดี แต่เจ้าของ หรือ ผู้บริหาร หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ กลับนำความมั่งมีคืนสู่มวลชน

ในทางตรงกันข้าม สมมุติใหม่ ให้ท่านเป็นเจ้าของบริษัท หรือ เป็นผู้บริหาร หรือ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เหมือนเดิมแล้วกัน เรายังไม่ปลดท่านออก และท่านก็รู้ดีที่สุดว่า บริษัทมีข่าวร้ายซ่อนอยู่ ท่านจะชิงขายหุ้น ออกมาก่อนไหมครับ

และเมื่อท่านขายออกมาแล้ว ท่านอยากให้มันลงไหมครับ

ด้วยความหวังดี ท่านก็อาจจะกระซิบบอกคนใกล้ตัว บอกญาติพี่น้องว่าอีกไม่นานข่าวร้ายจะปูดออกมา

เมื่อคนวงในรู้ข่าวก็จะโทรไปสั่งขาย และเมื่อขาย กราฟราคาหุ้นก็จะออกอาการเป็นแนวโน้มขาลง

ช้างตายทั้งตัวไม่สามารถเอาใบบัวมาปิดได้ ในไม่ช้าข่าวลือก็จะปูดออกสู่สาธารณะ พร้อมๆกับราคาไหลลงไปเรื่อยๆ

และเมื่อข่าวร้ายปรากฏ เมื่อหนังสือพิมพ์ลงข่าว นักวิเคราะห์จะปรับราคาเป้าหมายลง พร้อมแนะนำขาย ด้วยเหตุผลอย่างงั้นอย่างโง้นอย่างงี้ ทำให้รายย่อยส่วนใหญ่ในตลาดที่เคยลังเลตอนได้ยินข่าวลือมา เกิดความกลัว และรีบขายล้างพอร์ตหนีตาย

ตลาดหุ้นเป็นเรื่องของอารมณ์ การตอบสนองต่อข่าวเกินเหตุเสมอ ดังนั้นราคาหุ้นที่ถูกเททิ้งลงมามากมายจนราคาต่ำกว่าเหตุนั้น ก็จะเริ่มจูงใจให้เจ้าของบริษัท ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นใหญ่ ซื้อหุ้นคืนแล้วล่ะ จริงไหมครับ มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวที่คนวงในจะไม่ซื้อคืน นั่นคือ บริษัทนั้นมันเน่าในจริงๆ กระทั่ง ผู้บริหารและเจ้าของยังไม่คิดที่จะซื้อคืนเลย

กรณีนี้ถ้าเป็นผม ผมจะจัดการอย่างไรกับข่าวลือร้ายๆเหล่านั้น

ปกติแล้ว คนเล่นหุ้นขี้ตกใจนะ ยังไงเสียหุ้นก็ลงก่อนล่ะ หากมีข่าวร้ายเข้ามา

ใครบอกว่ากระต่ายตื่นตูมก็ช่างเถอะ ผมขายก่อนล่ะ ยามที่มีข่าวร้ายวิ่งเข้ามา ยากที่ใครจะไปทนทานแรงขายได้

ในเมื่อหุ้นมีแนวโน้มจะลงเพราะความกังวลข่าวร้าย ผมจะรออะไรอยู่ครับ แทนที่จะไปนั่งเช็คข่าว ไปถามใครต่อใคร หรือ นั่งรอข่าว ผมขอขายก่อนไม่ดีกว่าหรือ

ธรรมชาติของหุ้นลงได้รวดเร็ว และ รุนแรงกว่าการขึ้นเสมอ ยังไงเสียขายไปแล้วก็ยังมีโอกาสได้ซื้อคืนอยู่ดี เพราะเมื่อข่าวลือเข้ามาในตลาด ถึงเราไม่ขาย คนอื่นก็ขาย ยังมีคนอีกตั้งมากมายนะครับที่ต้นทุนเขาต่ำมากและอยากจะล็อคกำไรออกมาก่อน

เมื่อคนทั้งตลาดขายหุ้นออกมา จนแรงขายหมดเกลี้ยงแล้ว จนราคาหุ้นต่ำเกินเหตุแล้ว แบบนี้เราค่อยซื้อคืนก็ยังไม่สายใช่ไหมครับ แถมซื้อหุ้นคืนได้ครบในต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมตั้งเยอะ


INFO: ThaiDayTrade


ถอดรหัสตลาดหุ้น #1 ทำเป็นเก่ง เจ๊งสถานเดียว
ถอดรหัสตลาดหุ้น #2 Limit Loss ไม่เป็น เงินเย็นหายเ...
ถอดรหัสตลาดหุ้น #3 ยิ่งถูกยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อยิ่งลง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #4 ยิ่งไม่กล้าเสี่ยง กลับยิ่งเสี่ยง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #5 วิ่งไปตามแนวโน้ม
ถอดรหัสตลาดหุ้น #6 รู้เขารู้เรา
ถอดรหัสตลาดหุ้น #7 เกาะไปกับ Fund Flow
ถอดรหัสตลาดหุ้น #8 ขายหมูดีกว่าขายหมา น้ำลายหกดีกว่าน้ำตาตก
ถอดรหัสตลาดหุ้น #9 ย้อนรอย วัฏจักรตลาดหุ้น
ถอดรหัสตลาดหุ้น #10 กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ
ถอดรหัสตลาดหุ้น #11 กลวิธี สวนควันปืน เล่นฝืนมวลชน
ถอดรหัสตลาดหุ้น #12 กลวิธี สงครามกองโจร
ถอดรหัสตลาดหุ้น #13 กลลวง ข่าวลือ
ถอดรหัสตลาดหุ้น #14 กลโกงปั่นหุ้น
ถอดรหัสตลาดหุ้น #15 รวยเรื้อรัง หันหลังให้คำว่าเจ๊ง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #16 วาทะรับน้อง

ถอดรหัสตลาดหุ้น #15 รวยเรื้อรัง หันหลังให้คำว่าเจ๊ง


“ช่วงที่เรายังเรียนหนังสือไม่เก่ง ผมจะใช้วิธีลอกข้อสอบ คิดถึงสมัยเรียนหนังสือ อยากสอบให้ผ่าน ก็ต้องแอบมองข้อสอบคนอื่น แต่คุณอย่าไปลอกข้อสอบคนที่เรียนไม่เก่ง เราต้องลอกข้อสอบจากคนที่เก่งกว่า” ……. วิชัย วชิรพงษ์ (เสี่ยยักษ์) รายใหญ่ต่างยกนิ้วให้ว่าเป็น “เสือ” ในวงการหุ้นตัวจริง

ในบทนี้ อยากขอยกวาทะเซียนหุ้นทั้งหลายที่เป็นเสมือนอาจารย์หุ้นของผมและทีมงาน มาฝากทุกท่าน อันเป็นการถอดประสบการณ์ของจริงที่ท่านเหล่านั้นประสพความสำเร็จจากฝีมือ และ จากการหมั่นพัฒนา จนร่ำรวยด้วยหุ้นมาแล้ว ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะออกไปลุยตลาดหุ้น

เสี่ยแตงโม: ไม่ซื้อดักรอ เพราะกลัวรอดักดาน หากมีสัญญาณซื้อ จะใช้สูตร 5-3-2

เริ่มจาก คุณสมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์ หรือ “เสี่ยแตงโม” เซียนหุ้นหาดใหญ่ จากช่างตัดผมผู้เริ่มต้นด้วยเงินลงทุน 8 หมื่นบาท และในระยะแรกเล่นหุ้นจนเหลือเงินเพียง 3 หมื่น แล้วขอเงินแม่มาเพิ่มทุนอีก 5 หมื่น จนปัจจุบันท่านได้ขึ้นแท่นรายใหญ่พันล้านแห่งวงการหุ้นไทย เจ้าของวาทะ “เล่นหุ้นให้ได้กำไรชัวร์ๆ ต้องซื้อที่ New High”

(ที่มา: เปิดตัว “เสี่ยแตงโม” เซียนหุ้น “หาดใหญ่” จาก “ช่างตัดผม” ผันสู่..นักลงทุน “พันล้าน” …… bangkokbiznews.com 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)

“แต่ก่อนผมมักจะเข้าไปซื้อหุ้นก่อนแนวโน้มเสมอ เพราะเราคาดว่าราคามันจะต้องผ่าน New High แน่ๆ …แต่ปรากฏหลายครั้งว่ามันไม่จริง จากบทเรียนครั้งนั้น ผมจึงไม่พูดพร่ำฮัมเพลง ขอเข้าไปซื้อที่ New High สถานเดียว…เพราะมีคติว่า ของดีต้องแพงที่สุด!!”

“ผมจะซื้อสูตร 5-3-2 จะซื้อ 3 ครั้ง ซื้อครั้งแรก 50% ถ้ามันขึ้นซื้ออีก 30% ถ้าขึ้นอีกซื้ออีก 20% แต่ถ้าซื้อแล้วมันลง จะหยุดซื้อทันที แล้วผมจะรอดู”

”ถ้าซื้อแล้วมีคนขายแล้วออเดอร์ของผมไม่สามารถทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปได้ แสดงว่าผมเจอ (ตอ) ผู้ที่อยากขายใหญ่กว่าเรา ผมจะถอยทันที ขายทิ้งทุกราคา”

“ถ้าเห็นสัญญาณว่าราคาเริ่มอ่อนตัว ผมจะ Take Profit ทันที คือ ขายเกลี้ยงพอร์ต ผมจะกล้าถือหุ้นตัวที่กำไร และขายตัวที่ขาดทุน…กรอบนี้ผมให้ลงแค่ 5% แม้ใครจะบอกว่าหุ้นตัวนั้นดีมาก ระยะกลางดี แต่ทำไมมันลงล่ะครับ…ถ้าดีจริงมันต้องไม่ลง”

“ผมถือคติว่า…น้ำกำลังเชี่ยว อย่าเอาเรือไปขวาง จำไว้เวลาหุ้นขาลง แม้ขายขาดทุนก็ต้องขาย ต้องยอมเสีย Civic ไปหนึ่งคัน…ไม่งั้น Mercedes-Benz คุณหาย!!

เอกยุทธ อัญชัญบุตร: ช่วงหุ้นขาขึ้นผมกล้าไล่ซื้อ แต่หากลง ผมเลิก ขายทุกราคา

คุณเอกยุทธ อัญชันบุตร หรือ “จอร์จ ตัน” ประธานเครือโอเรียนเต็ลมาร์ท เซียนหุ้นพันล้าน ผู้เชี่ยวชาญตลาดการเงินระหว่างประเทศ ก็ให้ข้อคิดจากประสบการณ์ตรงที่น่าสนใจครับ

(ที่มา: ชั่วโมงเซียน: “จอร์จ ตัน” เซียนเหนือเซียน …… bangkokbiznews.com 24 กันยายน พ.ศ. 2547)

”ผมจะให้น้ำหนักกับ “วอลุ่ม” มากกว่าสัญญาณทุกอย่าง หุ้นไม่มีวอลุ่มผมไม่เล่น ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคนิค”

“ช่วงที่หุ้นกำไรดี ราคากำลังขึ้น ผมจะไล่ราคาตลอด”

“แต่เมื่อใดที่มันเริ่มหันหัวกลับ…ผมเลิก ทุกราคาผมขายหมดจะไม่รอ และไม่เสียดายเงิน 5 สตางค์ 10 สตางค์ ทุกช่องที่มีอยู่จะโยน (ขาย) ทิ้งหมดเลย”

“ผมว่ามันเพ้อเจ้อ” หรือพวกที่ชอบซื้อหุ้น “ถัวเฉลี่ยต้นทุน”

”เล่นหุ้นขาลงซื้อถัวเฉลี่ยไม่ได้…ต้อง Cut Loss ทิ้งอย่างเดียว”

เสี่ยไฮ้ส้มตำ: ตัวไหนขึ้น ผมซื้อเต็มพอร์ตแล้วถือยาว 4-5เดือน ตัวไหนซื้อแล้วลง 2-3% ผมไปแล้ว

คุณธนกฤต เลิศผาติ หรือ ไฮ้ส้มตำ พ่อค้าส้มตำ เจ้าของร้าน “ไฮ้ ส้มตำคอนแวนต์” ผู้นำกำไร 1 แสนบาท จากการขายส้มตำ มาเป็นทุนประเดิมในการซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2542 จนปัจจุบัน หากตลาดหุ้นดี จะซื้อขายวันละ 30-40 ล้านบาท ท่านก็มีวิธีคิดที่น่าสนใจมากครับ

(ที่มา: วาทะเด็ด…จาก “7 เซียนตัวจริง”…… bangkokbiznews.com 26 มกราคม พ.ศ. 2550)

“ทุกเย็นผมจะต้องดูกราฟว่าตัวไหนมีสัญญาณการสะสม และพื้นฐานของหุ้นเป็นยังไง เสร็จจากนั้นจึงมามองภาวะตลาดโดยรวมในช่วงนั้นว่าเอื้อต่อการขึ้นของหุ้นตัวนี้หรือไม่ ถ้าทุกอย่างเข้าล็อก จึงเริ่มเข้าไปสะสมหุ้นกับเขา ถ้ามั่นใจจะซื้อทีเดียว 70% แล้วรอ 2-3 วัน …ถ้าหุ้นไม่ขึ้น ผมจะหยุดไว้ก่อน แต่ยังไม่ขาย แต่ถ้าขึ้นก็จะซื้อเข้ามาจนเต็มพอร์ต หรือถ้าซื้อแล้วราคามันปักลงเอาแค่ 2-3% ผมก็ไปแล้ว ไม่ต้องรอให้ขาดทุนกว่านี้”

“ส่วนใหญ่จะถือหุ้นไม่นาน หากหุ้นตัวใดยังมีแนวโน้มสดใสอาจจะถือประมาณ 4-5 เดือน แต่หากเป็นหุ้นรายเล็กหรือรายใหม่จะซื้อมาแล้วขายไปมากกว่า ส่วนใหญ่จะถือเพียง 1 วันหรือไม่ก็ซื้อตอนเช้าแล้วเย็นเทขาย เนื่องจากหุ้นรายเล็กยังใหม่และยังไม่มีความแน่นอนมีความเสี่ยงสูง”

เสี่ยป๋อง: บนสวรรค์มีไม่รู้กี่ชั้น ถึงคนว่าแพงแล้ว ถ้าไปต่อผมก็กล้าซื้อ แต่เวลาลงนรกก็มีไม่รู้กี่ขุมเหมือนกัน

คุณวัชระ แก้วสว่าง หรือ เสี่ยป๋อง นักลงทุนรายใหญ่ระดับพันล้านอีกท่านหนึ่ง ที่คนในวงการต่างยอมรับว่าเป็นอาจารย์ใหญ่

(ที่มา: วาทะเด็ด…จาก “7 เซียนตัวจริง”…… bangkokbiznews.com 26 มกราคม พ.ศ. 2550)

“สำหรับผม ถ้าจะซื้อหุ้น…ต้องดูทรง (กราฟ) ด้วย แม้ราคาจะขึ้นมาแล้ว 30% ถ้ายังพอไปต่อไหว…ก็เล่น ผมถือว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า บนสวรรค์มีไม่รู้ตั้งกี่ชั้น แต่เวลาลงนรกก็มีไม่รู้ตั้งกี่ขุมเช่นกัน จะไม่มีคำว่าถูก ว่าแพงในตลาดหุ้น”

“ยกตัวอย่างหุ้น KK ตอนนั้นราคา 1 บาท เจ้าของหุ้นเทขายก็มีให้เห็น แต่จากนั้นไม่นาน หุ้นก็ขึ้นไปที่ 80 บาท และสามารถลงมาที่ระดับ 14 บาท ก็มีให้เห็น ของแบบนี้เราไม่สามารถฟันธงได้ว่าถูกหรือแพง”

หมอยง : ต้องเล่นหุ้นขาขึ้น หยุดเล่นหุ้นขาลง จำกัดผลขาดทุนให้ไว จาก5แสนรวยพันล้าน

“ผมชอบเล่นหมากรุก การเล่นหุ้นก็เหมือนการเดินหมาก ต้องใช้ความคิดตลอดเวลา ก็เลยตัดสินใจทิ้งอาชีพหมอฟันมาเล่นหุ้น ทั้งที่ตอนนั้นรายได้จากการเล่นหุ้นน้อยกว่ารายได้จากการทำฟัน”

“ตอนที่เริ่มสตาร์ทผมลงเงินไป 500,000 บาท ตอนนั้นเลือกหุ้นที่คิดว่ามี “ราคาถูก” ผมจะซื้อหุ้นที่ราคาตกลงมามากๆ เลือกหุ้นที่มีพี/อี เรโชต่ำ และซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพาร์ เพราะเราคิดว่าราคาถูก” คุณหมอเล่าประสบการณ์ให้ฟังครับว่า สิ่งที่คิดว่า “ราคาถูก” และ “ปลอดภัย” เอาเข้าจริง กลับตรงกันข้าม เล่นช่วงแรกเจ๊งมาตลอด จนเหลือเงินอยู่ 180,000 บาท ในที่สุด ได้ข้อสรุปมาว่า “ถ้ามัวแต่ยึดข้อมูลในอดีต สักวันคงหมดตัวแน่!!!”

“หุ้นยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อ หุ้นยิ่งตกต้องยิ่งขาย” “จงทำตามแนวโน้มตลาด” นี่คือกฎข้อแรกที่คุณหมอเรียนรู้หลังจากขาดทุนอย่างหนัก

“ผมเห็นคนล้มตายเยอะ ทุกคนที่เจ๊งหุ้นเหมือนกัน คือ ไม่ยอม “Stop Loss” ทำให้ผมเข้าใจว่าถ้าเราจะอยู่ในวงการนี้ได้นาน เราต้องรู้จักวิธีจำกัดความเสี่ยง”

”เล่นหุ้นขาขึ้น หยุดเล่นหุ้นขาลง และต้องชิงตัดขาดทุน เสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ตัวเลขขาดทุนจะบานปลาย”

”หากเราเข้าไปในวิกฤติสัก 10 ครั้ง ถ้าโดนแค่ครั้งเดียวก็หมดตัวแล้ว”

เสี่ยยักษ์ : จากเริ่มต้นหลักล้านรวยหุ้นเป็นพันล้านได้ แต่ต้องเผื่อใจขาดทุนไว้ซัก 10% แบบนี้รวยแน่

สำหรับเซียนหุ้นพันล้านท่านนี้ วิชัย วชิรพงศ์ หรือ เสี่ยยักษ์ ผมจะยกพื้นที่จากนี้ไปให้ท่านแล้วล่ะครับ ถือว่าท่านเป็นผู้ที่ถ่ายทอดวิทยายุทธ์ให้กับสังคมรายย่อยมากที่สุดท่านหนึ่งเลยล่ะ

(ที่มา: กูรูหุ้นพันล้าน…วิชัย วชิรพงศ์…… bangkokbiznews.com 13 เมษายน – 19 กรกฎาคม 2550)

“คนบ้านนอกที่มีฐานะธรรมดาๆ ยังสามารถเล่นหุ้นรวยเป็นพันล้านได้ ผมเชื่อว่าพวกคุณทุกคน ก็มีโอกาสรวยระดับร้อยล้านได้ทุกคน…อย่าเพิ่งท้อ”

“ถ้าคุณชนะครั้งใหญ่ได้สักครั้ง ชัยชนะต่อๆ มาจะเป็นของคุณ”

“มันไม่ใช่กำไรแค่ร้อยเท่า คุณมีเงิน “พันล้าน” โตมาจากเงิน “2 ล้าน” มันโตเป็นพันเท่านะ”

“หุ้นจะเป็นขาขึ้น “ราคา” และ “ปริมาณ” จะต้องเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน”

“ถ้าเราเลือกหุ้นพี/อี ต่ำ พื้นฐานดี แต่ซื้อแล้วราคาไม่ขึ้น..มีแต่ลง แสดงว่าความคิดของเรา “ผิด” คุณต้องเปลี่ยน “อย่าดันทุรัง””

“ผมก็ทำตามตำราเป๊ะ ! พอ Black Monday หุ้นตกหนัก เราก็เข้าไปลุยเลย เลือกซื้อแต่หุ้นค่าพี/อี ต่ำๆ สมัยนั้นก็หุ้นแบงก์ทั้งนั้น ซื้อไปแล้วมันก็ไม่ขึ้น…หุ้นตัวอื่นขึ้น หุ้นเราก็ไม่ขึ้น”

“ประสบการณ์ขาดทุนครั้งแรก เอาเงินมาเล่น 2 ล้านกว่าบาท ขาดทุนไป 5 แสนกว่า นั่งมองคนอื่นกำไร ตัวเองขาดทุน เพราะเล่นแต่หุ้นแบงก์ค่าพี/อี ต่ำๆ สุดท้ายก็รู้ว่าวิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล คนส่วนใหญ่เขาไม่คิดเหมือนเรา ในที่สุดก็ตัดสินใจล้างพอร์ต”

“ถ้าเราเลือกหุ้นพี/อี ต่ำ พื้นฐานดี แต่ซื้อแล้วราคาไม่ขึ้น..มีแต่ลง แสดงว่าความคิดของเรา “ผิด” คุณต้องเปลี่ยน อย่าดันทุรัง”

“คุณยังไม่มีประสบการณ์เลย คุณต้องขาดทุนก่อน ในชีวิตจริงต้องเป็นอย่างนั้น นักลงทุนมือใหม่ “ขาดทุน” ถือเป็นเรื่องปกติ”

“ถ้าวันหนึ่งคนอื่นทำงาน 8 ชั่วโมง เราต้องทำงาน 10 ชั่วโมง ต้องกลับมา “ชนะ” ให้ได้”

“เราต้องเริ่มต้นจากการยอมรับความผิดพลาดของเราเอง อย่าไปโทษคนอื่น นำกลับมาแก้ไข เชื่อผม! แล้วคุณจะเล่นหุ้นเก่งขึ้น”

“เราต้องพายเรือตามน้ำ อย่าพายเรือทวนน้ำ”

“เราต้องพยายามอ่านหลักจิตวิทยาของตลาดว่า คนอื่นเขาคิดอย่างไร..? กับหุ้นตัวที่เราจะเล่น อย่าพยายาม “คิดเอง-เออเอง” คนเดียว”

“สมมติว่า ขณะนั้น SET กำลัง “นิยม” หุ้นกลุ่มไหน เราก็ต้องจับตามองหุ้นกลุ่มนั้น เพราะการ “ฝืนกระแส” จะทำให้เรา “เสี่ยงสูง” ที่จะขาดทุน”

“การเล่นหุ้นฝืนทิศทางตลาด เล่นแล้วมันเหนื่อย !!! เหมือนการขึ้นรถผิดคัน ทำไม! รถคันนี้มันถึงไม่ออกจากท่ารถสักที เรารอแล้วรออีก คันนี้ก็ไป คันนั้นก็ไปก่อน”

“หุ้นเวลาเป็น “ขาลง” เราต้องตัดทิ้ง อย่าถือ และอย่าซื้อถัวเฉลี่ย”

“เริ่มตัดไปทีละนิ้ว ตัดไปเรื่อยๆ เหมือนนิทานตะพาบน้ำที่ผมเคยเล่าให้ฟังไง! มันเจ็บปวดที่สุด แต่คุณไม่มีทางเลือก ..ถ้าอยากรอดคุณต้องรีบทำ”

“ทุกคนจะมีจังหวะฟ้าลิขิต…ทุกคนต้องเคยได้รับโอกาสนั้น แต่คุณจะตักตวงมันได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง”

“ทุกอย่างมันต้องมาจากพื้นฐานก่อน แต่การดูพื้นฐานอย่างเดียวถ้าไม่ใช้เทคนิเคิลช่วย…เปรียบเสมือนคุณขึ้นรถเมล์ คุณจะไปสะพานตากสิน คุณกลัวร้อนคุณก็ไปนั่งรอในรถเมล์คันที่มันสตาร์ทเครื่องเอาไว้แล้ว แต่มันไม่ออกจากท่า (รถ) สักที”

“ที่มันไม่ออกเพราะจังหวะมันผิด มันเร่งเครื่องบรื้อๆ แต่ไม่ออก คันข้างๆ ออกไปแล้วเว้ย! คันเราก็ไม่ไป นั่งรอมีแต่กระเป๋ารถขึ้นมาเขย่าตั๋ว แต่ก็ไม่ออก เราจะคิดทันทีว่า “ต้องลง” ไม่ใช่คันนี้แน่…ขึ้นผิดคัน พอเราลง เปลี่ยนคันไปขึ้นคันใหม่ คันเดิมของเราดันออก”

“วิธีการเล่นหุ้นต่อ 1 รอบ จำไว้เลยนะว่า คุณต้องเตรียม “ขาดทุน” ไว้ 10% ของพอร์ตของคุณเสมอ…ผมกล้าพูดได้เลยว่า ต่อให้เป็นเซียน เป็นโคตรเซียนแค่ไหนก็ตาม คุณมี 100 ล้าน คุณต้องเตรียมขาดทุนไว้ 10 ล้าน ไว้สำหรับ Cut Loss (ยอมขาดทุน) แน่นอนที่สุด…เชื่อผม!!


INFO: ThaiDayTrade


ถอดรหัสตลาดหุ้น #1 ทำเป็นเก่ง เจ๊งสถานเดียว
ถอดรหัสตลาดหุ้น #2 Limit Loss ไม่เป็น เงินเย็นหายเ...
ถอดรหัสตลาดหุ้น #3 ยิ่งถูกยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อยิ่งลง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #4 ยิ่งไม่กล้าเสี่ยง กลับยิ่งเสี่ยง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #5 วิ่งไปตามแนวโน้ม
ถอดรหัสตลาดหุ้น #6 รู้เขารู้เรา
ถอดรหัสตลาดหุ้น #7 เกาะไปกับ Fund Flow
ถอดรหัสตลาดหุ้น #8 ขายหมูดีกว่าขายหมา น้ำลายหกดีกว่าน้ำตาตก
ถอดรหัสตลาดหุ้น #9 ย้อนรอย วัฏจักรตลาดหุ้น
ถอดรหัสตลาดหุ้น #10 กลวิธี ขึ้นขายก่อน อ่อนซื้อกลับ
ถอดรหัสตลาดหุ้น #11 กลวิธี สวนควันปืน เล่นฝืนมวลชน
ถอดรหัสตลาดหุ้น #12 กลวิธี สงครามกองโจร
ถอดรหัสตลาดหุ้น #13 กลลวง ข่าวลือ
ถอดรหัสตลาดหุ้น #14 กลโกงปั่นหุ้น
ถอดรหัสตลาดหุ้น #15 รวยเรื้อรัง หันหลังให้คำว่าเจ๊ง
ถอดรหัสตลาดหุ้น #16 วาทะรับน้อง