เอเอฟพี - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) วานนี้ (13)
ลงมือกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ ด้วยการออกมาตรการ QE3
ประกาศซื้อพันธบัตรรอบใหม่วงเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน
โดยมีเป้าหมายหั่นอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
พร้อมกันนั้นยังปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2012 ของประเทศลง
เฟด
ยังส่งสัญญาณด้วยว่ามาตรการผ่อนคลายทางการเงินนี้จะนำมาใช้จนกว่าพบเห็นทิศ
ทางที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างในตลาดแรงงานสหรัฐฯ
ที่เวลานี้ตัวเลขคนว่างงานยังสูงถึงร้อยละ 8.1
ในถ้อยแถลง
เฟดชี้ให้เห็นถึงการเติบโตที่อ่อนแอของเศรษฐกิจและความเฉื่อยชาในตลาดงาน
ดังนั้นจึงจะอัดฉีดเงิน 40,000 ล้านดอลลาร์
ในตราสารหนี้ประเภทที่มีหลักทรัพย์จำนองค้ำประกันในแต่ละเดือน
ในปฏิบัติการแบบเปิดที่มีเป้าหมายสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัยพ์อันร่อแร่
ถ้อยแถลงของเฟดระบุว่า
มาตรการเเหล่านี้จะช่วยลดความกดดันต่อดอกเบี้ยระยะยาว
สนับสนุนตลาดสินเชื่อและช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินให้ผ่อนคลายมากยิ่ง
ขึ้น
นอกจากนี้แล้ว คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market
Committee : FOMC)
ยังขยายมาตรการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเฉียดร้อยละศูนย์ไปจนถึง
ช่วงกลางปี 2015 ยาวนานกว่าเคยประกาศก่อนหน้านี้กว่า 6 เดือน
“ถ้าแนวโน้มตลาดแรงงานยังไม่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง
คณะกรรมการกำหนดนโยบาย
ก็จะดำเนินการเข้าซื้อตราสารหนี้ประเภทที่มีหลักทรัพย์จำนองค้ำประกันต่อไป
รวมถึงอาจเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมและใช้เครื่องมือทางนโยบายอื่นๆ
ตามสมควร จนกระทั่งจะบรรลุเป้าหมาย
พบเห็นเสถียรภาพด้านราคาดีขึ้นอย่างชัดเจน”
ส่วน นายเบน เบอร์นันกี
ประธานเฟดบอกกับผู้สื่อข่าวว่าสถานการณ์การจ้างงานของประเทศยังคงน่ากังวล
อย่างยิ่ง พร้อมระบุว่า “ตลาดงานที่อ่อนแอ
ได้สร้างความวิตกแก่อเมริกันชนทุกคน”
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินระบุว่า
เศรษฐกิจของประเทศยังคงขยายตัวเล็กน้อย
ทว่าอัตราการลงทุนในภาคธุรกิจเฉื่อยชาลงเรื่อยๆ
พร้อมกันนั้นยังได้ปรับลดอัตราการเติบโตในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 1.7-2.0
จากเดิมที่เคยประมาณการณ์ไว้ที่ 1.9-2.4
แม้จะคาดหมายว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวถึงร้อยละ 2.5-3.0 ในปี 2013
คำแถลงของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินยังแสดงความกังวลด้วยว่า
หากปราศจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม
เศรษฐกิจอาจไม่เติบโตเพียงพอที่จะช่วยให้สภาพของตลาดแรงงานดีขึ้นอย่างเป็น
เนื้อเป็นหนัง และเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ก็ยังอ่อนแอเกินไปที่จะรับมือกับวิกฤตการเงินโลกที่กำลังดำเนินอยู่
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน
คาดหมายว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะยังคงอยู่ในความควบคุม
โดยอยู่ในระดับหรือต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ที่เฟดวางเอาไว้
ด้านผู้เชี่ยวชาญไม่รู้สึกประหลาดใจต่อความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของเฟด
โดยเฉพาะหากวิเคราห์ตามอัตราและรายละเอียดการเติบโตทางเศษฐกิจของสหรัฐฯ
“เจ้าหน้าที่ของเฟดหลายคน
อยากจะลงมือตอนนี้เพื่อซื้อความอุ่นใจต่อภาวะถดถอยเพิ่มเติม” ฮาร์ม
บันด์โฮล์ซ จากยูนิเครดิตระบุ
กระนั้นเขาบอกว่ามาตรการใหม่นี้อาจไม่ก่อผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากยังคงมีปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากภายนอกทั้งยุโรปและจีน
รวมถึงการเจรจาเกี่ยวกับตัดลบงบประมาณที่ยังไร้ทางออกระหว่างเดโมแครตกับรี
พับลิกัน